2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การสร้างแผ่นเส้นใยโพลีโพรพิลีนแบบไม่ถักทอจากเครื่องเมลต์โบลวน์สำหรับการดูดซับน้ำมัน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 20 มกราคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ( KKU SCIENCE JOURNAL) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN
     ปีที่ 49 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า
     บทคัดย่อ ในงานวิจัยนี้ได้สร้างเครื่องเมลต์โบลวน์(Melt Blown)เพื่อผลิตเส้นใยโพลีโพรพิลีนแบบไม่ถักทอสำหรับใช้ในการดูดซับน้ำมัน ได้ศึกษาผลของอุณหภูมิหัวพ่น (170 °C, 190 °C, 210 °C และ 230 °C) ที่มีผลต่อลักษณะของเส้นใยและค่ามุมสัมผัสของเส้นใยโพลีโพรพิลีน ทดสอบความสามารถในการดูดซับน้ำมันของเส้นใยโพลีโพรพิลีนที่เตรียมได้โดยมาตรฐาน ASTM-F726-12 โดยวัดค่าของการดูดซับน้ำมันสูงสุดหลังจากดูดซับน้ำมันแล้วเป็นเวลา 3 วินาที พบว่าความสามารถในการดูดซับน้ำมันสูงสุดจะมีค่าลดลงเมื่ออุณหภูมิของหัวพ่นมีค่าสูงขึ้น โดยมีค่าเท่ากับ 20.78±1.46 19.40±1.26 16.34±0.48 และ 11.57±2.53 (g/g) เมื่ออุณหภูมิของหัวพ่นมีค่าเป็น 170 °C, 190 °C, 210 °C และ 230 °C ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าถ้าอุณหภูมิของหัวพ่นสูงขึ้นเส้นใยที่ได้จะมีลักษณะเชื่อมติดกันกับเส้นใยรอบข้างทำให้เส้นใยมีขนาดใหญ่และบางส่วนจะจับรวมกันเป็นก้อนส่งผลให้ช่องว่างระหว่างเส้นใยลดลง ทำให้พื้นที่ผิวสัมผัสของแผ่นเส้นใยมีค่าลดลง ผลการทดสอบการดูดซับน้ำมันในช่วงเวลา 10-60 นาที พบว่าทุกตัวอย่างมีอัตราการดูดซับน้ำมันลดลงตามเวลาเป็นแบบไม่เชิงเส้น อย่างไรก็ตามเส้นใยโพลีโพรพิลีนแบบไม่ถักทอเตรียมที่อุณหภูมิหัวพ่นเท่ากับ 170°C จะมีความสามารถในการดูดซับน้ำมันได้ดีที่สุดเพราะมีลักษณะการผสานกันของเส้นใยที่สม่ำเสมอและมีสมบัติความไม่ชอบน้ำที่สูงมากกว่าตัวอย่างอื่น 
     คำสำคัญ การดูดซับน้ำมัน เส้นใยโพลีโพรพิลีนแบบไม่ถักทอ เครื่องเมลต์โบลวน์ 
ผู้เขียน
625020010-7 นาย สุธีพร คิดถาง [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0