2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นเพื่อจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม กรณีศึกษา เมืองยโสธร 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มีนาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 23 (ออนไลน์) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มีนาคม 2565 
     ถึง 25 มีนาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2565 
     Issue (เล่มที่) 23 
     หน้าที่พิมพ์ 226-239 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดน้ำท่วมและจำแนกพื้นที่เสี่ยง ต่อการเกิดน้ำท่วมบริเวณพื้นที่เมืองยโสธร โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ร่วมกับกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (AHP) ซึ่งใช้ปัจจัยสำหรับการศึกษาจำนวน 12 ปัจจัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีลำดับความสำคัญต่อการเกิดน้ำท่วมมากที่สุด คือ ปริมาณน้ำฝน รองลงมา ได้แก่ ระดับความสูงของภูมิประเทศ ความหนาแน่นของลำน้ำ ความลาดชัน ระยะห่างจากแหล่งน้ำ การระบายน้ำของดิน ความหนาแน่นของเส้นทางระบายน้ำ ขนาดท่อระบายน้ำ พื้นที่น้ำท่วมในอดีต ความหนาแน่นของอาคาร และประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีลำดับความสำคัญน้อยที่สุด คือ ความหนาแน่นของถนน เมื่อจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ศึกษาออกเป็น 4 ระดับ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เสี่ยงน้อย (53 %) รองลงมา คือ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง (34 %) พื้นที่เสี่ยงน้อยมาก (8 %) และพื้นที่เสี่ยงสูง (5 %) ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลการจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมร่วมกับพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากแล้วพบว่ามีความสอดคล้องกัน แสดงให้เห็นถึงแนวคิด เทคนิคและผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางและข้อมูลสนับสนุนเพื่อการวางแผนการบริหารจัดการป้องกันน้ำท่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ 
ผู้เขียน
615200019-6 นาย สนั่น สุขแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0