2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ชื่อเรื่อง : การใช้แอปพลิเคชันในการฝึกกิจวัตรประจำวันของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม (USING THE APPLICATION TO PRACTICE DAILY ROUTINE OF CHILDREN WITH AUTISM SPECTRUM DISORDER) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มีนาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 23 (The 23rd National Graduate Research Conference (Online Conference)) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มีนาคม 2565 
     ถึง 25 มีนาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 274-291 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ศิริพร กำลังทวี. 2565. การใช้แอปพลิเคชันในการฝึกกิจวัตรประจำวันของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาหลักวิทยานิพนธ์: รองศาสตราจารย์ ดร. ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์, ดร. กรวรรณ โหม่งพุฒ บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันในการฝึกกิจวัตรประจำวันของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม และเพื่อศึกษาผลการใช้แอปพลิเคชันในการฝึกกิจวัตรประจำวันของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นเด็กที่มีภาวะออทิซึมที่มีความบกพร่อง วินัยในตนเอง จำนวน 5 คน อายุระหว่าง 3-6 ปีที่ได้รับการคัดกรองและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว ปัจจุบันกำลังศึกษาศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) ฝ่ายการศึกษาพิเศษ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีปัญหาคือ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ รูปแบบในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (single subject design) รูปแบบ A-B การวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น เลขที่ HE643138 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และ แอปพลิเคชัน จากการใช้แอปพลิเคชันในการฝึกกิจวัตรประจำวันของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ทั้ง 5 กิจกรรมคือ 1. การแปรงฟัน 2. การล้างมือ 3. การอาบน้ำ 4. การแต่งตัว 5. การรับประทานอาหาร จากการศึกษาการใช้แอปพลิเคชันในการฝึกกิจวัตรประจำวันของเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ก่อนและหลังการใช้การใช้แอปพลิเคชันในการฝึกกิจวัตรประจำวันของเด็กที่มีภาวะ ออทิซึมสเปกตรัมได้คะแนนเต็ม 20 คะแนน เฉลี่ยรวมคะแนนต่อไปนี้ นักเรียนคนที่ 1 (6/17) นักเรียนคนที่ 2 (5/17) นักเรียนคนที่ 3 (6/18) นักเรียนคนที่ 4 (2/13) และนักเรียนคนที่ 5 (5 /17) ตามลำดับเฉลี่ยแล้วเพิ่มขึ้น พบว่าทักษะกิจวัตรประจำวันหลังจากใช้แอปพลิเคชันสูงขึ้น Siriporn Kumlangtawee. 2022. Using the Application to Practice Daily Routine of Children with Autism Spectrum Disorder. Master of Education Thesis in Curriculum Psychology and Counseling, Graduate School, Khon Kaen University. Thesis Advisors: Assoc. Prof. Dr. Piyawan Srisuruk, Dr. Korrawan Mongput ABSTRACT This study aims to develop the using application to practice daily routine of children with autism spectrum disorder and to study the result of using the application to practice daily routine of children with autism spectrum disorder. The research target includes 5 children with autism under the self-discipline deficiency aged 3-6 years who had been screened and diagnosed by a medical professional. Currently, the researcher studies the Autism Research Centre, Demonstration School of Khon Kaen University, Secondary School Satit KKU, Khon Kaen, Thailand (Modin Daeng), Special Education Department. The problems of the target group are the inability to help themselves in daily life. The research model was a single subject design, A-B format. This research was accredited by the Human Research Ethics Committee. Khon Kaen University, No. HE643138. The research instruments include interview and application. The application was used to practice the daily routine of children with autism spectrum disorder. There are 5 main activities including 1. Brushing teeth 2. Washing hands 3. Bathing 4. Dressing and 5. Eating. According to the study while using application to practice the daily routine of children with autism spectrum disorder. The following mean scores were obtained compare before and after using the application to practice the daily routine of children with autism spectrum disorder. The 1st student (6/17), the 2nd student (5/17), the 3rd student (6/18), the 4th student (2/13), and the 5th student (5/17), respectively the averaged were higher. It had been found that routine skills were higher after using the application.  
ผู้เขียน
625050144-8 น.ส. ศิริพร กำลังทวี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล เป็นผู้ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านคุณธรรม จริยธรรม 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 25 มีนาคม 2565 
แนบไฟล์
Citation 0