2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการ อัตราส่วนทางการเงิน ต่อความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 7 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม 
     สถานที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ (ส่วนวังจันทร์) มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม 
     จังหวัด/รัฐ จ.พิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 กุมภาพันธ์ 2565 
     ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 588-599 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการ อัตราส่วนทางการเงิน ต่อความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยเก็บข้อมูลงบการเงินทั้งหมด 52 บริษัท ระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ 2554 – 2563 และวิเคราะห์โดยแบบจำลองโลจิทเพื่อสร้างแบบจำลองและทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ตัวแปรการกำกับดูแลกิจการและอัตราส่วนทางการเงินในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งตัวแปรการกำกับดูแลกิจการที่ใช้ศึกษาผลกระทบต่อความล้มเหลวทางการเงิน ประกอบด้วย สัดส่วนของคณะกรรมการอิสระ ค่าตอบแทนของคณะกรรมการ ขนาดของคณะกรรมการ และระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการจากรายงานประจำปี อีกทั้งอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ศึกษา ประกอบด้วย อัตราส่วนทุนหมุนเวียน อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว อัตราส่วนหมุนเวียนของลูกหนี้ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ระยะยาว อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย อัตรากำไรสุทธิ และอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ ขณะที่ตัวแปรควบคุม ประกอบด้วย ขนาดของกิจการ อายุของกิจการ และกลุ่มอุตสาหกรรม ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับโอกาสที่บริษัทจะประสบความล้มเหลวทางการเงิน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คือ สัดส่วนของคณะกรรมการอิสระ (ID) และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับโอกาสที่บริษัทจะประสบความล้มเหลวทางการเงิน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คือ ขนาดของคณะกรรมการ (BS) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับโอกาสที่บริษัทจะประสบความล้มเหลวทางการเงิน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 คือ อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม (TAT) ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (ICR) อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ (RA) และค่าตอบแทนของคณะกรรมการ (BDC) โดยผลการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (McFadden R-Squared) เท่ากับ 0.3219 และร้อยละความถูกต้องของการพยากรณ์ของแบบจำลองเท่ากับร้อยละ 81.50 ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ ไม่ได้พิจารณาเลือกบริษัทที่มีสินทรัพย์ใกล้เคียงกัน อาจมีรูปแบบการดำเนินกิจการที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนในบางอัตราส่วนทางการเงิน ดังนั้นผู้ที่สนใจการวิจัยครั้งต่อไปอาจทำการจับคู่บริษัทด้วยการพิจารณาจากขนาดกิจการที่มีสินทรัพย์ใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผลการศึกษามีความแม่นยำมากขึ้น  
ผู้เขียน
625210041-8 น.ส. ธันยพร เดชกุมาร [ผู้เขียนหลัก]
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0