2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การวิเคราะห์ลำดับการสอนในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา เรื่องเรขาคณิต ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น 
Date of Distribution 29 January 2022 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 8 “2 ทศวรรษของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้สู่สมรรถนะการคิดขั้นสูง : เหลียวหลัง แลหน้า เพื่อการปฏิบัติในชั้นเรียน (Rethinking for Classroom Practices)” 
     Organiser สมาคมคณิตศาสตรศึกษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 
     Conference Place Online by Zoom 
     Province/State ลำปาง 
     Conference Date 29 January 2022 
     To 30 January 2022 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 107-116 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract หนังสือถือได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์สำคัญที่ช่วยให้เข้าใจว่าสิ่งใดเป็นความรู้ที่จะสอน (Takeuchi & Shinno, 2019) โดยหนังสือเรียนที่เน้นการแก้ปัญหาจะนำเสนอเนื้อหาที่ซ่อนอยู่ในสถานการณ์ปัญหา เพื่อให้นักเรียนสร้างความหมายจากสถานการณ์ปัญหาที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ก่อนจะเข้าสู่โลกทางคณิตศาสตร์ โดยหนังสือเรียนที่เน้น การแก้ปัญหาถือว่าเป็นแนวทางสำหรับครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2553) ซึ่งงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลำดับการสอนเรื่องเรขาคณิต ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 โดยงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ของผู้มีประสบการณ์และมีความเข้าใจใน การใช้หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา จำนวนทั้งหมด 9 คน ประกอบไปด้วย อาจารย์มหาวิทยาลัย จำนวน 2 คน,นักศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน, นักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 2 คน, ครูผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 คน, ครูประจำการ จำนวน 2 คน และนักศึกษาปฎิบัติการสอนในสถานศึกษา จำนวน 1 คน โดยข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2559) ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การแสดงแทนโลกจริงของนักเรียน 2) การแสดงแทนด้วยสื่อกึ่งรูปธรรม และ 3)การแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ของนักเรียน ผลการวิจัย พบว่า ลำดับการสอน ประกอบด้วย 1) การแสดงแทนโลกจริงของนักเรียน คือ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และประสบการณ์/ความรู้เดิมของนักเรียน 2) การแสดงแทนด้วยสื่อกึ่งรูปธรรม จะอยู่ในรูปของสิ่งที่นักเรียนใช้ประกอบการลงมือแก้ปัญหา เช่น รูปภาพสำหรับให้นักเรียนได้สังเกตและจับต้องแทนวัตถุจริง เป็นต้น โดยขณะที่นักเรียนลงมือทำ จะเกิด การเคลื่อนย้ายจากโลกจริงมาสู่โลกคณิตศาสตร์ และ3) การแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ของนักเรียน คือ รูปร่างและรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งส่วนหนึ่งคือคีย์เวิร์ด ที่เป็นคำอธิบายจากตัวนักเรียนเอง โดยนักเรียนจะเริ่มต้นเรียนรู้จากรูปทรง รูปร่าง หน้า ระนาบ และเส้น ตามลำดับ 
Author
615050130-8 Miss AREEYA CHAPITAK [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0