2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยทำนายผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลตติยภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย (Predictive factors influencing nursing outcomes perceived by registered nurses working in cardiothoracic surgery intensive care units the tertiary hospitals Northeastern Thailand)  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 เมษายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก (ประเทศไทย) 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 34 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก (ICU-CVT) และศึกษาความสามารถในการทำนายผลลัพธ์ทางการพยาบาลของปัจจัยส่วนบุคคล การทำงานเป็นทีมของสหสาขาวิชาชีพ และสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน ICU-CVT ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 7 แห่งใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ICU-CVT จำนวนทั้งหมด 131 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามผ่าน QR code ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ การทำงานเป็นทีม และผลลัพธ์ทางการพยาบาลใน ICU-CVT วิเคราะห์ความตรงตามเนื้อโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน แบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ICU-CVT แบบสอบถามการรับรู้ผลลัพธ์ทางการพยาบาล แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม วิเคราะห์ความเชื่อมั่นแบบสอบถามได้เท่ากับ 0.959, 0.959 และ 0.941 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าผลลัพธ์ทางการพยาบาลใน ICU-CVT อยู่ในระดับสูงที่สุด (Mean=4.56, SD.=0.50) สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงาน ICU-CVT อยู่ในระดับสูง (Mean= 4.25, SD.= 0.45) การทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับสูงที่สุด (Mean=4.55, SD.=0.40) สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพและการทำงานเป็นทีมสามารถร่วมกันทำนายผลลัพธ์ทางการพยาบาลใน ICU-CVT ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) โดยสามารถอธิบายการผันแปรผลลัพธ์ทางการพยาบาลได้ ร้อยละ 42.6 ผลการศึกษานี้เสนอแนะให้ผู้บริหารทางการพยาบาล ควรพัฒนาสมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทาง อบรมเฉพาะสาขาเพื่อฟื้นฟูความรู้ต่อเนื่องทุกปี และส่งเสริมบรรยากาศการทำงานเป็นทีม ทั้งในหอผู้ป่วยและร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ 
     คำสำคัญ ผลลัพธ์ทางการพยาบาล, สมรรถนะพยาบาล, การทำงานเป็นทีม, การอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง, หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก 
ผู้เขียน
615060046-1 น.ส. รภัสสรณ์ แก้วก่ำ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0