ชื่อบทความ |
ความร่วมมือของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับหน่วยงานภาคีในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
25 เมษายน 2565 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสาร journal of Roi Kaensarn Academi |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สถาบันพัฒนาการเรียนรู้ศาสตร์สมัยใหม่ |
ISBN/ISSN |
journal of Roi Kaensarn Academi |
ปีที่ |
7 |
ฉบับที่ |
9 |
เดือน |
กันยายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2565 |
หน้า |
- |
บทคัดย่อ |
บทความนี้มุ่งตอบคำถามในการวิจัยว่า อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดของแก่น มีแนวทางในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีอย่างไร ในการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การลงพื้นที่ และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ได้แก่ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ปลัดเทศบาลภูผาม่าน และภาคเอกชน ได้แก่ ผู้ประกอบการรีสอร์ท โฮมสเตย์ ในพื้นที่ภูผาม่าน รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 6 คน การวิจัยนี้จำแนกการเก็บข้อมูลออกเป็นด้านความร่วมมือและด้านปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจชุมชน และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ รวมกับข้อมูลเอกสารและการลงพื้นที่ไปศึกษาสภาพแวดล้อมและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่
ผลการวิจัยพบว่า อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดของแก่น มีแนวทางในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ในการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยหน่วยงานภาคี ที่มีส่วนในการดำเนินงานด้านการจัดการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน หน่วยงานเหล่านี้มีการประสานความร่วมมือ โดยอุทยานแห่งชาติภูผาม่านเป็นหน่วยงานภาครัฐมีพันธกิจสำคัญในการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ดำเนินการสร้างให้ชุมชนและประชาชนในพื้นที่มีการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และให้ตระหนักรู้ถึงระบบการแบ่งปันค่าตอบแทนไปยัง อปท. โดยรอบเมื่ออุทยานมีรายได้จากการท่องเที่ยวเข้ามา นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ยังดำเนินการประสานประโยชน์ไปสู่ท้องถิ่น ด้วยการประชาสัมพันธ์ด้านแหล่งที่พัก ร้านค้าและบริการท้องถิ่น โดยแนะนำทางเลือกของการพักแรมชั่วคราวทั้งที่มีอยู่ของอุทยานและสถานประกอบการต่างๆ ของชุมชนสิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้ อปท. และชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน การเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ด้านการสื่อสาร การให้ความช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว การร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยาน และภาคเอกชน มีการประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยวของภูผาม่าน และมีส่วนร่วมในการประชุมรับทราบข้อมูลและปัญหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของภูผาม่าน เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการทำให้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว ด้านนักท่องเที่ยว และสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวต่อเนื่อง |
คำสำคัญ |
ความร่วมมือ; เศรษฐกิจ; การท่องเที่ยว; รายได้ประชาชน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|