2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การทดสอบความแข็งแบบวิกเกอร์บนรากฟันผุระยะเริ่มต้นหลังการใช้สารที่มีส่วนประกอบของฟลูออไรด์โดยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างฟลูออไรด์วานิชและซิลเวอร์ไดอามีนฟลูออไรด์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 มกราคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 11 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยพะเยา 
     สถานที่จัดประชุม ออนไลน์ 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มกราคม 2565 
     ถึง 28 มกราคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 11 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 10-23 
     Editors/edition/publisher กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงความแข็งผิวของรากฟันผุระยะเริ่มต้นหลังทาฟลูออไรด์วานิชและซิลเวอร์ไดอามีนฟลูออไรด์ โดยใช้ฟันกรามน้อยมนุษย์จำลองการเกิดฟันผุโดยการใช้สารเคมี ที่มีค่าความเป็นกรดด่างที่ 4.6 แช่เป็นเวลา 96 ชั่วโมง อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และแบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 3 กลุ่มคือ 1.ทาร้อยละ 5 โซเดียมฟลูออไรด์ วานิช 2.กลุ่มควบคุม 3.กลุ่มที่ทาร้อยละ 38 ซิลเวอร์ไดอามีน ฟลูออไรด์ โดยหลังทาฟันแต่ละกลุ่มจะถูกแช่ด้วยน้ำลายเทียมที่มีค่าความเป็นกรดด่างที่ 7 อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส แช่เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และนำไปแช่ต่อในสารสลายแร่ธาตุที่มีค่าความเป็นกรดด่างที่ 4.9 อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส แช่เป็นเวลา 96 ชั่วโมง และสารคืนกลับแร่ธาตุที่มีค่าความเป็นกรดด่างที่ 7 อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส แช่เป็นเวลา 96 ชั่วโมงตามลำดับ โดยหลังการแช่ในทุกสารละลายจะวัดค่าความแข็งแบบผิววิกเกอร์ด้วยเครื่องทดสอบความแข็งระดับจุลภาคแบบวิกเกอร์(Future-Tech FM Corp., Tokyo Japan) เพื่อนำมาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงความแข็งผิว ผลการศึกษาพบว่า ค่าความแข็งผิวในกลุ่มที่ทาซิลเวอร์ไดอามีน ฟลูออไรด์มีค่ามากที่สุดในสามกลุ่มทดลองในทุกสารที่แช่ ส่วนในกลุ่มที่ทาฟลูออไรด์ วานิชพบว่าจะมีความสามารถในการต้านทานการสลายแร่ธาตุมากขึ้นเนื่องจากค่าความแข็งผิวในช่วงก่อนและหลังแช่สารสลายแร่ธาตุมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญซึ่งให้ค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่าความแข็งผิวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการใช้ซิลเวอร์ไดอามีน ฟลูออไรด์สามารถเพิ่มความแข็งผิวในรากฟันผุระยะเริ่มต้นได้มากกว่าการใช้ฟลูออไรด์วานิช 
ผู้เขียน
635130009-0 นาย บุลากร กนกเสริมทรัพย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 5