2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การจำแนกพื้นที่ดินว่างเปล่าทุรกันดาร ด้วยวิธีการรับรู้ระยะไกลและการจำแนกข้อมูลภาพเชิงวัตถุ พื้นที่ลุ่มน้ำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 7 พฤษภาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการ ทรัพยากรธรรมชาติ สารสนเทศภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 5 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร และ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพระเยา 
     สถานที่จัดประชุม ณ ภาควิชาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     จังหวัด/รัฐ มหาสารคาม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 6 พฤษภาคม 2564 
     ถึง 7 พฤษภาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 454-462 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ พื้นที่ดินว่างเปล่าทุรกันดารที่ได้จากการแปลความภาพถ่ายดาวเทียม สามารถเชื่อมโยงเพื่อบ่งชี้ถึงที่มาของการเกิด ซึ่งเป็นได้ทั้งจากธรณีพิบัติ เช่น ดินถล่ม หลุบยุบ สภาพอากาศที่ทำให้เกิดการล้มตายของพืชจนเห็นดินที่ว่างเปล่า หรือแม้กระทั่งความแห้งแล้งที่จำกัดการเจริญเติบโตของพืชพรรณ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับมนุษย์ เช่นการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อจำแนกลักษณะของที่ว่างเปล่าทุรกันดารในพื้นที่ลุ่มน้ำปาว ด้วยวิธีการจำแนกข้อมูลภาพเชิงวัตถุ และการคำนวณค่าอัตราส่วนแถบความถี่ ได้แก่ NDVI, NDWI, NDBaI และ VNSIR จากข้อมูลดาวเทียม Sentinel-2A ที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่ 10 เมตร โดยพบว่าค่าดัชนีที่แสดงถึงรูปแบบของพื้นที่ดินว่างเปล่าทุรกันดาร สามารถจำแนกได้ตามลักษณะทางกายภาพของพื้นดิน เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่ว่างเปล่าทุรกันดารจากการทำเกษตรกรรม กระบวนการทางธรณีวิทยา และพื้นที่ว่างเปล่าทุรกันดารโดยธรรมชาติ โดยมีค่าความถูกต้องโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 75.57 และ ค่าสัมประสิทธิแคปปาที่ 0.67 ผลจากการศึกษานี้เป็นแนวทางเพื่อการวิเคราะห์ลักษณะของที่ว่างเปล่าทุรกันดาร เพื่อการพัฒนาและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ 
ผู้เขียน
625160008-3 นาย กานต์กานน ศักดิ์มงคลจิต [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคโนโลยี ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล การนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย "รางวัลชนะเลิศ" 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล ภาควิชาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 7 พฤษภาคม 2564 
แนบไฟล์
Citation 0