2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การศึกษาผลกระทบการสอบธรรมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 
Date of Distribution 25 February 2022 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ครั้งที่ 3 และนานาชาติ ครั้งที่ 2 
     Organiser คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  
     Conference Place มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 
     Province/State สกลนคร 
     Conference Date 25 February 2022 
     To 25 February 2022 
Proceeding Paper
     Volume 2565 
     Issue
     Page 898-911 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการสอบธรรมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้วิจัยได้กำหนดตามความเหมาะสมเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์ที่ครอบคลุมความหลากหลายในประชากรให้ได้มากที่สุดเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันเพื่อให้ครอบคลุมปัญหาและคำถามในการวิจัย ผู้วิจัยจึงกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ จำนวน 14 รูป/คน ประกอบด้วย นักศึกษาระดับ ปริญญาตรี ที่เคยสอบธรรมศึกษา จำนวน 6 คน ครู/อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการสอบธรรมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องมีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 5 ปี ในการทำงานเกี่ยวกับการสอบธรรมศึกษา จำนวน 5 รูป/คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้จากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์จัดกลุ่มข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูล และการสร้างข้อสรูปแบบอุปนัย (Analytic Induction) ผลการวิจัยพบว่า 1. การสอบธรรมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พบว่า สร้างผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้เรียน บุคลากรครู และผู้บริหารโรงเรียน 1) ผลกระทบทางบวก (1) เกิดมาตรฐานของการสอบธรรมศึกษา (2) ผู้เรียนได้รับโอกาสเพิ่มขึ้นจากการใช้ผลการสอบธรรมศึกษา ในบางโรงเรียนที่มีการใช้ผลการสอบธรรมศึกษา เป็นเกณฑ์พิจารณาเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษาและใช้เป็นเกณฑ์การให้คะแนนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาสังคมศึกษา (3) โรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าสอบและมีผู้สอบผ่านมากที่สุดได้รับการยกย่องมีการมอบเกียรติบัตรว่าเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ 2) ผลกระทบทางลบ 1) ข้อสอบ ไม่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนและมีเนื้อหาต้องท่องจำให้ได้ก่อนจึงจะสามารถเข้าใจ 2) การเตรียมตัวสอบที่หนักแต่คะแนนสอบไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ผลการสอบรายบุคคลจะนำไปใช้อย่างไรได้บ้าง 3)การติวข้อสอบธรรมศึกษาที่ต้องใช้ปัจจัยและทรัพยากรเพิ่มขึ้น 2. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการสอบธรรมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีประเด็นสำคัญดังนี้ (1) การนำผลสอบธรรมศึกษา ไปใช้ในการเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย (2) การส่งเสริมและพัฒนาระบบการสอบธรรมศึกษาให้ทันสมัย (3) การพัฒนาหลักสูตธรรมศึกษา การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผล และ (4) กำหนดมาตรการสร้างแรงจูงใจในการสอบธรรมศึกษา คำสำคัญ : ผลกระทบ ; การสอบธรรมศึกษา  
Author
635050135-0 Phra SUDTHIPHONG HACHAI [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum