2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การตั้งค่าการตรวจวิเคราะห์ลักษณะประชากรของทีเซลล์ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินด้วยวิธีโฟลไซโทเมทรี 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 ธันวาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 18 ในการจัดสัมมนาและประชุมวิชาการงาน เกษตรกำแพงแสนประจำปี 2564 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และกองบริหารการศึกษา 
     สถานที่จัดประชุม อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 8 ธันวาคม 2564 
     ถึง 9 ธันวาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 18 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 2238-2245 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคเรื้อรังที่มีการอักเสบบริเวณผิวหนัง ที่ผ่านมาการศึกษาในเชิงวิทยาภูมิคุ้มกันของโรคสะเก็ดเงินยังมีน้อย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งและหาค่าที่เหมาะสมที่สุดในการตั้งค่าการตรวจวิเคราะห์ลักษณะการทำงานของทีเซลล์และกลุ่มประชาการย่อย จากตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมชาวไทยด้วยวิธีโฟลไซโทเมทรี จากการศึกษาสามารถจัดตั้งการตรวจวัดการทำงานของเซลล์ได้สำเร็จ โดยสกัดแยกเซลล์เม็ดเลือดขาว peripheral blood mononuclear cells (PBMCs) จากผู้ป่วยแล้วกระตุ้นด้วย 100 ng/mL PMA ร่วมกับ 1 µg/mL ionomycin calcium salt เพื่อให้สามารถเห็นการแสดงของการทำงานของเซลล์ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และใช้ 3 µg/mL Brefeldin A เพื่อยับยั้งการหลั่งของไซโตไคน์ออกนอกเซลล์ กระตุ้นเป็นเวลาเวลารวม 2 ชั่วโมง ก่อนนำไปย้อมด้วยแอนติบอดีที่จำเพาะ (specific antibodies) ที่เชื่อมต่อกับสารเรืองแสงชนิดต่าง ๆ ได้แก่ CD45-eFluor® 450, CD3-APCeFluor® 780, CD4- eFluor® 450, IFN-gamma- PE, FOXP3- PerCP-Cyanine5-5, IL-4- Alexa Fluor 488 และ IL-17-APC พบว่า T helper 2 (CD3+CD4+IL-4+) และ T helper 17 (CD3+CD4+IL-17+) ในกลุ่มผู้ป่วยมีระดับที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<0.01 และ p<0.05 ตามล าดับ) และในกลุ่ม T helper 1 ในกลุ่มผู้ป่วยมีระดับที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ regulatory T cell (CD3+CD4+FOXP3+) ไม่พบความ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้อาจเป็นแนวทางในการค้นหาตัวบ่งชี้ทางภูมิคุ้มกันที่สัมพันธ์กับ พยาธิกำเนิด การพัฒนาของโรค หรือระดับอาการแสดงออกของผู้ป่วยได้ในอนาคต 
ผู้เขียน
625070010-7 นาย ชาคริต ทัพพันธ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0