2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การป้องกันโรคกิ่งแห้งของแก้วมังกรที่เกิดจากรา Neoscytalidium dimidiatum ด้วยราปฏิปักษ์ Beauveria bassiana และเกลือซิลิกอน Prevention of dragon fruit stem canker caused by Neoscytalidium dimidiatum using antagonistic fungus Beauveria bassiana and silicon salts 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 7 มีนาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN
     ปีที่ 50 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน-ตุลาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า
     บทคัดย่อ โรคกิ่งแห้งของแก้วมังกรเกิดจากรา Neoscytalidium dimidiatum ทำความเสียหายอย่างมากในประเทศไทยและทั่วโลก การวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถการเป็นปฏิปักษ์ของรา Beauveria bassiana บนอาหารเลี้ยงเชื้อ ประสิทธิภาพการปกป้องพืชในเรือนทดลอง และผลการใช้เกลือซิลิกอนต่อโรคกิ่งแห้ง วิธีการศึกษาโดยเพาะเลี้ยงราปฏิปักษ์ B. bassiana และรา N. dimidiatum ในจานเลี้ยงเชื้อเดียวกัน คำนวณเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง ตรวจสอบการระเหยได้ของสารยับยั้ง ฉีดพ่นสปอร์แขวนลอยเชื้อ B. bassiana ตรวจสอบการเป็นอีพิไฟต์ เอนโดไฟต์ ความสามารถป้องกันการเกิดโรคกิ่งแห้งในต้นกล้าและกิ่งพันธุ์แก้วมังกรรวมถึงผลการแช่หรือฉีดพ่นเกลือซิลิกอนต่อการเกิดโรคกิ่งแห้ง ผลการศึกษาพบว่าราปฏิปักษ์ B. bassiana ยับยั้งการเจริญของราสาเหตุโรคได้อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01) เปอร์เซ็นต์ยับยั้งเฉลี่ย 65.22±2.38 % การยับยั้งเกิดจากสารเมตาโบไลต์ที่ปล่อยลงมาในอาหาร สปอร์แขวนลอยของรา B. bassiana มีชีวิตได้ทั้งแบบอิพิไฟต์บนผิวพืชและแบบเอนโดไฟต์ในเนื้อเยื่อพืช ได้เป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน มีผลยับยั้งโรคกิ่งแห้งตั้งแต่ 1 วันแรกและส่งผลต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 14 วัน อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) การแช่กิ่งแก้วมังกรหรือการฉีดพ่นต้นแก้วมังกรด้วยเกลือซิลิกอน ความเข้มข้น 500, 1,000 และ 1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร ป้องกันและลดโรคกิ่งแห้งได้ตามความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ B. bassiana และเกลือซิลิกอน มีแนวโน้มใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในกระบวนการป้องกันความเสียหายจากโรคกิ่งแห้งแก้วมังกร 
     คำสำคัญ โรคกิ่งแห้ง; บิวเวอเรีย; อิพิไฟต์; เอนโดไฟต์; ซิลิกอน 
ผู้เขียน
605030027-2 น.ส. ณัฐวรรณ ทีรวม [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0