2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การใช้เศษพลาสติกประเภทพอลิไวนิลคลอไรด์จากฉลากหุ้มขวดน้ำในคอนกรีตระบบอัด 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 7 ธันวาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสาร มทร. อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า 61-76 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตระบบอัดที่ใช้เศษพลาสติกจากฉลากหุ้มขวดน้ำ (พอลิไวนิล-คลอไรด์ : พีวีซี) แทนที่มวลรวมจากหินฝุ่น ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณสมบัติคอนกรีตระบบอัดได้แก่ ปริมาณการแทนที่มวลรวมด้วยเศษพลาสติกในอัตราส่วนร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 โดยปริมาตร อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ที่ 0.30, 0.35 และ 0.40 โดยน้ำหนัก และอัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อมวลรวมที่ 0.14, 0.17 และ 0.20 โดยน้ำหนัก ผลการศึกษาพบว่าความหนาแน่น กำลังรับแรงอัด การนำความร้อนและความเร็วคลื่นความถี่สูงของคอนกรีตระบบอัดมีค่าลดลงเมื่อปริมาณการแทนที่มวลรวมด้วยเศษพลาสติกมีค่าเพิ่มขึ้น โดยคอนกรีตที่มีความหนาแน่นสูงส่งผลต่อกำลังรับแรงอัดที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ความหนาแน่นของคอนกรีตระบบอัดที่มีส่วนผสมของเศษพลาสติกสามารถเพิ่มได้โดยการเพิ่มอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์และอัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อมวลรวม เมื่อพิจารณากำลังรับแรงอัดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก (มอก. 58-2533) พบว่าสามารถใช้เศษพลาสติกแทนที่หินฝุ่นได้ถึงร้อยละ 20 เมื่อใช้อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์สูงกว่า 0.35 และอัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อมวลรวมสูงกว่า 0.17 การศึกษานี้เป็นแนวทางในการใช้เศษพลาสติกในคอนกรีตบล็อกและนำไปสู่วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป  
     คำสำคัญ คอนกรีตระบบอัด; คอนกรีตบล็อก; เศษพลาสติก; พอลิไวนิลคลอไรด์ 
ผู้เขียน
635040028-7 น.ส. ดารุณี แก้วพิกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0