2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ทัศนคติต่อประสบการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาและการจัดการด้วยตนเองของผู้ป่วย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 สิงหาคม 2564 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ศรีนครินทร์เวชสาร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 08573123 
     ปีที่ 36 
     ฉบับที่
     เดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า 722 - 730 
     บทคัดย่อ หลักการและวัตถุประสงค์: อาการไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse drug reactions; ADRs) เป็นปัญหาจากการใช้ยาที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยสามารถเพิ่มอัตราการรายงาน ADRs และเพิ่มการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้ยาได้ อย่างไรก็ตามทัศนคติของผู้ป่วยต่อการเกิด ADRs และการจัดการด้วยตนเองยังมีการศึกษาที่จำกัด ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทัศนคติต่อประสบการณ์การเกิด ADRs และการจัดการด้วยตนเองของผู้ป่วย รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบตัดขวาง เก็บข้อมูลที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา คัดเลือกผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 744 คน อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เคยเกิด ADRs และมีการบันทึกลงในเวชระเบียนของโรงพยาบาล ผู้ป่วยได้รับแบบสอบถามประเภทตอบด้วยตนเองทางไปรษณีย์เพื่อตอบทัศนคติต่อการเกิด ADRs และการจัดการด้วยตนเองของผู้ป่วย แบ่งเป็น 5 ระดับ โดยใช้ 5-points Likert Scale และนำมาแปลเป็นทัศนคติ 3 ระดับ คือ ระดับดี ปานกลาง และไม่ดี ผลการศึกษา: ผู้ป่วยตอบกลับแบบสอบถามที่สมบูรณ์ จำนวน 340 ราย (ร้อยละ 45.7) พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 67.6) อายุเฉลี่ย 58.0 ± 15.24 ปี ทัศนคติต่อการเกิด ADRs และการจัดการด้วยตนเองของผู้ป่วย พบว่าร้อยละ 38.8 เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำถามเชิงบวก “หากเกิดอาการแพ้ยา/อาการข้างเคียงจากยาระดับรุนแรงมาก ท่านจะหยุดยานั้นทันที” ในขณะที่ผู้ป่วย ร้อยละ 15.0 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำถามเชิงลบ “ท่านรู้สึกไม่มั่นใจในการรักษาของแพทย์ที่เคยสั่งยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ยา/อาการข้างเคียงจากยา” โดยผู้ป่วยมีทัศนคติต่อการเกิด ADRs และการจัดการด้วยตนเองระดับดี ร้อยละ 21.8 (mean ± SD = 39.08 ± 1.856), ระดับปานกลาง ร้อยละ 77.3 (mean ± SD = 31.64 ± 2.995), และระดับไม่ดี ร้อยละ 0.9 (mean ± SD; 22.3 ± 0.577) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยหลายตัวแปร พบว่า ระดับความกังวลของผู้ป่วยต่อ ADRs ที่ระดับสูงขึ้นจะส่งผลต่อทัศนคติของผู้ป่วยต่อการเกิด ADRs และการจัดการด้วยตนเองที่ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ความกังวลระดับปานกลาง OR = 0.462 และความความกังวลระดับมาก OR = 0.414) สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการเกิด ADRs และการจัดการด้วยตนเองระดับปานกลางถึงดี ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับ ADRs และสามารถจัดการกับ ADRs ด้วยตนเอง ควรได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์เพื่อช่วยเพิ่มการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วย 
     คำสำคัญ ทัศนคติของผู้ป่วย, อาการไม่พึงประสงค์จากยา, ระดับความรุนแรง, ประสบการณ์, การจัดการ ADRs  
ผู้เขียน
615150012-7 น.ส. ศศิธร ชาววัลจันทึก [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum