ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การสะสมทุนเศรษฐกิจของแรงงานอีสานย้ายถิ่นกลับจากต่างประเทศ |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
28 เมษายน 2565 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
สมาคมนักประชากรไทย |
สถานที่จัดประชุม |
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และรูปแบบออนไลน์ |
จังหวัด/รัฐ |
นครปฐม |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
28 เมษายน 2565 |
ถึง |
28 เมษายน 2565 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2565 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
205-223 |
Editors/edition/publisher |
สมาคมนักประชากรไทย |
บทคัดย่อ |
บทความนี้มุ่งศึกษาการสะสมทุนเศรษฐกิจของแรงงานอีสานย้ายถิ่นกลับจากการไปทำงานต่างประเทศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบปรากฏการณ์วิทยา มีหน่วยวิเคราะห์ข้อมูลระดับปัจเจกและครัวเรือน เก็บข้อมูลเมื่อกุมภาพันธ์ 2563 - กรกฎาคม 2564 ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานย้ายถิ่นกลับจากการไปทำงานต่างประเทศ 30 ราย สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับครัวเรือนแรงงานย้ายถิ่นกลับ 25 ครัวเรือน และสัมภาษณ์กลุ่มกับผู้นำชุมชน 21 ราย และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า แรงงานย้ายถิ่นกลับจากการไปทำงานต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชายและสมรสแล้ว กว่าครึ่งหนึ่งจบมัธยมศึกษา ปัจจุบันเป็นเกษตรกร ค้าขาย ทำธุรกิจส่วนตัว และรับจ้างทั่วไป มากกว่าครึ่งหนึ่งมีประสบการณ์ย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย มีถิ่นปลายทางอยู่ที่เกาหลีใต้ อิสราเอล และไต้หวันเป็นหลัก และอาศัยอยู่ต่างประเทศครั้งล่าสุด 2-6 ปี มักทำงานโรงงาน เกษตรกร และอาชีพบริการ มีรายได้อยู่ที่ 20,000-85,000 บาทต่อเดือน และพบว่า แรงงานย้ายถิ่นกลับสะสมทุนเศรษฐกิจในรูปแบบของ (1) ทุนที่เป็นตัวเงิน ได้แก่ รายได้จากงานประจำ และรายได้จากงานพิเศษ และ (2) ทุนทรัพย์สิน ได้แก่ ที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย ประกันชีวิต เครื่องประดับ กองทุน/พันธบัตร/สลากออมทรัพย์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสมัยใหม่ โดยมีวิธีการสะสมทุนที่หลากหลาย ได้แก่ ประหยัด เก็บออม ประกันความเสี่ยง และลงทุนเพิ่ม ตั้งแต่ก่อนย้ายถิ่น ระหว่างทำงานอยู่ต่างประเทศ และเมื่อย้ายถิ่นกลับมายังถิ่นต้นทาง และเป็นที่น่าสังเกตว่าแรงงานย้ายถิ่นกลับที่ไปทำงานต่างประเทศแบบถูกกฎหมายและมีประสบการณ์การย้ายถิ่นมาก่อนมักสะสมทุนเศรษฐกิจได้มากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งการสะสมทุนเศรษฐกิจนี้ทำให้แรงงานย้ายถิ่นกลับสามารถต่อยอดทุนชนิดอื่น เพื่อสร้างความมั่งคั่งของครัวเรือนให้ดีขึ้นต่อไป
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ได้รับรางวัล |
ชื่อรางวัล |
ผู้นำเสนอผลงานวิจัยดีเด่น |
ประเภทรางวัล |
รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ |
หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล |
สมาคมนักประชากรไทย |
วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล |
28 เมษายน 2565 |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|