2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาการกัดเซาะตลิ่งลำน้ำพอง ณ บ้านหนองหิน ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 กุมภาพันธ์ 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 22 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การกัดเซาะตลิ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่ทำให้เสถียรภาพของตลิ่งลดลง ก่อให้เกิดอันตรายต่อการอยู่อาศัยและการเดินทางในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับตลิ่งนั้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษาการกัดเซาะตลิ่งลำน้าพอง ณ บ้านหนองหิน ม.8 ต.ศิลา อ.ขอนแก่น จ.ขอนแก่น การกัดเซาะจะเกิดขึ้นเมื่ออัตราการกัดเซาะมีค่ามากกว่าศูนย์ โดยตัวแปรที่สำคัญคือหน่วยแรงเฉือนที่ขอบเนื่องจากการไหลของน้า หน่วยแรงเฉือนวิกฤตของดิน และค่าสัมประสิทธิ์การกัดเซาะ ความเร็วการไหลของน้ำสำรวจด้วยเครื่องมือ River Surveyor M9 และรวบรวมจากระบบโทรมาตรเขื่อนจุฬาภรณ์และเขื่อนอุบลรัตน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ค่าบันทึกผลการทดสอบในสนามด้วยวิธี Submerged Jet Test ถูกนำมาวิเคราะห์หาค่าหน่วยแรงเฉือนวิกฤตและค่าสัมประสิทธิ์การกัดเซาะของดิน โดยมีทั้งหมด 3 วิธีที่แตกต่างกันคือวิธี Blaisdell Solution, Scour Depth Solution และ Iterative Solution สุดท้ายพบว่าระยะการกัดเซาะตลิ่งของวิธี Blaisdell Solution มีค่าเท่ากับ 58.99 m. และ 219.78 m. แต่วิธี Scour Depth Solution และ Iterative Solution ให้ค่าระยะการกัดเซาะตลิ่งเท่ากับ 0.00 m. เพื่อความแม่นยำของผลการทดสอบจึงเปรียบเทียบกับรูปตัดของตลิ่งที่เปลี่ยนไปจากการสำรวจความเปลี่ยนแปลงในระยะเวลา 192 วัน พบว่าตลิ่งถูกกัดเซาะมากที่สุดเท่ากับ 3.73 m. ทั้งนี้สรุปได้ว่าระยะการกัดเซาะจากวิธี Blaisdell Solution ให้ความคลาดเคลื่อนที่สูงเกินไป แต่วิธี Scour Depth Solution และ Iterative Solution ให้ความคลาดเคลื่อนที่ต่ำเกินไป ซึ่งยังไม่สามารถนำค่าพารามิเตอร์ที่ได้จากการทดสอบครั้งนี้นำไปทำนายระยะการกัดเซาะที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้นการเพิ่มชุดจานวนการทดสอบในสนามให้มากขึ้น พร้อมกับทดสอบให้ใกล้เคียงกับตำแหน่งที่ถูกน้ำกัดเซาะมากที่สุด จะสามารถช่วยเพิ่มความแม่นยาของผลการทดสอบและผลการทำนายระยะการกัดเซาะที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด 
     คำสำคัญ การกัดเซาะตลิ่ง พารามิเตอร์การกัดเซาะ ลำน้ำพอง 
ผู้เขียน
625040037-5 นาย อริยปรัชญ์ บุญผ่องศรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum