2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title แนวทางการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ ในศูนย์การศึกษาพิเศษเครือข่ายที่ 9 THE GUILDLINES FOR COLLABORATIVE NETWORK TO ENHANCE EARLY INTERVENTION SERVICES OF SPECIAL EDUCATION CENTER 9  
Date of Distribution 27 May 2022 
Conference
     Title of the Conference การประชุมทางวิชาการการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษาระดับชาติและนานาชาติ (ICEAHE2022)  
     Organiser คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place Onsite: ห้องประชุมสายสุรีย์จุติกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Online: Zoom Application and Facebook Live 
     Province/State หนองคาย 
     Conference Date 27 May 2022 
     To 27 May 2022 
Proceeding Paper
     Volume 2565 
     Issue
     Page 319-331 
     Editors/edition/publisher รศ.ดร. สุมาลี ชัยเจริญ 
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 205 คน กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยตารางเครจซี และมอร์แกน และทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item- Objective Congruence Index: IOC) ผลการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ ตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) ของแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha coefficient: ∝) ของครอนบาค (Cronbach) พบว่าแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.890 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลเด็กพิการ การคัดกรองประเภทความพิการ การประเมินความสามารถพื้นฐาน การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม การประเมินความก้าวหน้า และการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อ รวม 20 ตัวชี้วัด สภาพปัจจุบันของการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก( = 4.11) และสภาพที่พึงประสงค์ของการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.70) 2) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น พบว่า องค์ประกอบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด ลำดับที่ 1 ได้แก่ ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลเด็กพิการ(PNIModified = 1.153) ลำดับที่ 2 ได้แก่ ด้านการให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม(PNIModified = 1.152) และลำดับที่ 3 ได้แก่ ด้านการคัดกรองประเภทความพิการ (PNIModified = 1.150) 
Author
635440022-1 Miss PIYAPORN POLYIAM [Main Author]
Interdisciplinary Studies Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference นานาชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0