2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3 A Model for Development of Digital Learning Culture for Primary School under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 3  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 7 มิถุนายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Journal of Educational Measurement Mahasarakham University : JEM-MSU) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 29 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้ของวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 270 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.967 วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์สถิติอ้างอิงด้วยโปรแกรม SPSS สำหรับการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม Mplus ร่างรูปแบบโดยการสัมภาษณ์ และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยมีผลการวิจัย ดังนี้ 1. วัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา มีจำนวน 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การฝึกอบรมบุคลากรแบบผสมผสานทางดิจิทัล มี 2 ตัวบ่งชี้ 5 พฤติกรรมบ่งชี้ 2) ค่านิยมการทำงานร่วมกันผ่านสังคมออนไลน์ มี 2 ตัวบ่งชี้ 5 พฤติกรรมบ่งชี้ 3) สมรรถนะเชิงของบุคลากร มี 3 ตัวบ่งชี้ 8 พฤติกรรมบ่งชี้ 4) ภาวะผู้นำดิจิทัล มี 3 ตัวบ่งชี้ 8 พฤติกรรมบ่งชี้ 5) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงดิจิทัล มี 3 ตัวบ่งชี้ 7 พฤติกรรมบ่งชี้ รวมองค์ประกอบของวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 มีจำนวน 5 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ 33 พฤติกรรมบ่งชี้ 2. ผลการทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้วัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่า = 56.948, df = 43, / df = 1.324, P-Value = 0.0754, RMSEA = 0.035, SRMR = 0.023, CFI = 0.996, TLI = 0.992 และ 3. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย ชื่อรูปแบบ หลักการแนวคิด วัตถุประสงค์ ค่าเป้าหมายสู่ความสำเร็จ และกลไกขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ พบว่า มีผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด  
     คำสำคัญ รูปแบบ, วัฒนธรรมการเรียนรู้, วัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัล  
ผู้เขียน
635050053-2 น.ส. รติยากร คชา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0