2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การสลายตัวของวัสดุอินทรีย์ การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ในดินเค็มเนื้อทราย ภายใต้การใส่วัสดุอินทรีย์ต่างชนิดกัน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 1 สิงหาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านดินและปุ๋ย ก้าวสู่...เกษตร 4.0 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม กรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกับสมาคมดินและปุ๋ยแห่งชาติ, สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 สิงหาคม 2560 
     ถึง 2 สิงหาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 40 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 45-55 
     Editors/edition/publisher วารสารดินและปุ๋ย (Thai Journal of soils and fertilizers) 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้วัสดุอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบทางเคมีต่างกันต่อการสลายตัวการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในนาดินเค็มเนื้อทราย บ้านงิ้วเก่า ตำบลโนนประดู่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 กรรมวิธีการทดลอง โดยใช้วัสดุอินทรีย์ที่หาได้ในท้องถิ่น ได้แก่ ไม่ใส่วัสดุอินทรีย์ (ตำรับควบคุม) ซากถั่วลิสง ใบหญ้าแฝก ฟางข้าว ใบยูคาลิปตัส และแกลบ ใส่ในอัตรา 2 t rai-1 ผลการศึกษาอัตราการสลายตัวพบว่า อัตราการสลายตัวเกิดขึ้นเร็วในช่วงแรก โดยใบหญ้าแฝกมีอัตราการสลายตัวมากสุด และแกลบมีอัตราการสลายตัวต่ำสุด ผลการศึกษาการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดขึ้นสูงสุดในสัปดาห์ที่ 1 โดยมีการปลดปล่อยสูงสุดในดินที่ใส่ซากถั่วลิสง ในขณะดินที่ไม่มีวัสดุอินทรีย์มีการปลดปล่อยก๊าช CO2 ต่ำสุดตลอด 26 สัปดาห์ นอกจากนี้ พบว่าการปลดปล่อยก๊าช CO2 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความชื้นดินโดยเฉพาะช่วง 8 สัปดาห์แรกของการสลายตัว (r= 0.36 – 0.89) ดินที่ใส่ยูคาลิปตัสมีปริมาณคาร์บอนอินทรีย์สูงสุด รองลงมาคือ ใบหญ้าแฝก ฟางข้าว ซากถั่วลิสง ส่วนดินที่ใส่แกลบมีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนต่ำสุด และพบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินกับองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุอินทรีย์โดยเฉพาะคาร์บอน (r= 0.694**) และเซลลูโลส (r= - 0.653**) นอกจากนี้ ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินยังมีความสัมพันธ์ทางลบกับปริมาณการปลดปล่อยก๊าช CO2 ที่สูงส่งผลทำให้มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสะสมในดินต่ำ โดยเฉพาะสัปดาห์ที่ 8 - 26  
ผู้เขียน
587030003-8 น.ส. ศกุนตลา สุภาสัย [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0