2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การเพิ่มความใส่ใจต่อการเรียนของเด็กที่มีภาวะออทิซึมโดยใช้กิจกรรมศิลปะ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 มิถุนายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติหลักสูตรและการสอนสัมพันธ์ครั้งที่ 6 เรื่อง การศึกษาหลักสูตรและการสอนในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลง 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 
     จังหวัด/รัฐ สงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 พฤษภาคม 2565 
     ถึง 29 พฤษภาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2565 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 187-196 
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ การเพิ่มความใส่ใจต่อการเรียนของเด็กที่มีภาวะออทิซึมโดยใช้กิจกรรมศิลปะ Increasing Attention To Learning Among Children With Autism Through Artistic Activities กรรณิกา พาบุดดา1 Kannika Pabudda บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพิ่มความใส่ใจในการเรียนของเด็กที่มีภาวะออทิซึมโดยใช้กิจกรรมศิลปะ 2)เปรียบเทียบความใส่ใจในการเรียนของเด็กที่มีภาวะออทิซึมก่อนและหลังการใช้กิจกรรมศิลปะ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียนที่มีภาวะออทิสซึมที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นบุคคลที่มีภาวะออทิซึม กำลังศึกษาอยู่ในห้องออทิสติก 2 ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีอายุระหว่าง 6 – 10 ปี จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แบบบันทึกพฤติกรรมความใส่ใจในการเรียน 2)แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะทางสติปัญญาหรือเตรียมความพร้อมทางวิชาการเรื่อง การจับคู่ สิ่งของหรือรูปภาพ การรับรู้รูปเรขาคณิต การรับรู้พื้นผิว โดยใช้กิจกรรมศิลปะ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองประเภทกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single Subject design) แบบ A – B – A design โดยบันทึกการเกิดพฤติกรรมความใส่ใจต่อการเรียนของกลุ่มเป้าหมายแล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ และนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง กราฟเส้น และแผนภูมิแท่งประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1)เด็กที่มีภาวะออทิซึมมีความใส่ใจต่อการเรียนทักษะทางสติปัญญาหรือเตรียมความพร้อมทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีการจัดกิจกรรมโดยการใช้กิจกรรมศิลปะร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเมื่อมีการถอดถอนกิจกรรมศิลปะออกจากกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า พฤติกรรมความใส่ใจต่อการเรียนในทักษะทางสติปัญญาหรือเตรียมความพร้อมทางวิชาการยังมีความคงทนอยู่ 2)ผลการเปรียบเทียบความใส่ใจต่อการเรียนก่อนและหลังของการใช้กิจกรรมศิลปะร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ในทักษะทางสติปัญญาหรือเตรียมความพร้อมทางวิชาการของเด็กที่มีภาวะออทิซึมเป็นระยะเส้นฐาน (A1) และระยะถอดถอน (A2) พบว่าในระยะถอดถอนเด็กมีความใส่ใจต่อการเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าระยะเส้นฐานซึ่งใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปกติ คำสำคัญ: กิจกรรมศิลปะ, ความใส่ใจในการเรียน 1นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2ดร.สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก) 3รองศาตราจารย์ ดร.สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก) Corresponding author: kannika_pa@kkumail.com Abstract This thesis has an objective to 1) increase the attention of study for children with autistic disorder through artistic activity 2)compare the attention of children with autistic disorder before and after the application of artistic activity. The goal targets for this research are children under autistic symptom who have been diagnosed by doctor to suffer from autistic disorder. These children are all studying in special artistic room number 2 at special school, Burirum province, aged between 6-10 years old, for total of 5 students. The device used for this research is 1) The record of habit for students in giving attention to study 2) Managerial plan for learning skills in terms of intelligence or the preparation for academic use, matching photos, things or pictures. Perception of geometry and surface through the use of artistic activity. The contact office search is a single subject design (A-B-A design) by recording behavior of students in terms of attention given to the study I have to go to target and the analysis of data my fighting the main value (percentage)and present information in the format of timetable, line chart and bar chart with descriptions. The research findings suggest that; 1)Children with autistic disorder have more attention to use the study for gaining more skills and intelligence or become more prepared academically. When the activity is held through the use of artistic activity, it is found that the behavior of paying attention to study in terms of gaining more intelligence skill or academic preparation still prevails even with the artistic activity being pulled out. 2)The comparison result of before and after the application of artistic activity coupled with school learning activity for intelligence and academic preparation for children with autistic disorder suggests that base line (A1) and withdrawal (A2), children still have gained more attention for study during withdrawal in comparison to the baseline which is used for normal study. Keyword: art activity, attention to study 
ผู้เขียน
625050132-5 น.ส. กรรณิกา พาบุดดา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0