ชื่อบทความ |
ปัจจัยทำนายผลลัพธ์คุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 7 ประเทศไทย |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
7 กรกฎาคม 2565 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
15 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
พฤษภาคม - สิงหาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2565 |
หน้า |
173-186 |
บทคัดย่อ |
การวิจัยเชิงพยากรณ์ครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายผลลัพธ์คุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 6 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดที่มีประสบการณ์ทำงาน 1 ปีขึ้นไป จำนวน 229 คน เก็บรวมรวมข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคม 2564 ถึงเดือน สิงหาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1) การรับรู้ผลลัพธ์คุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดอยู่ในระดับสูง ( x = 4.38, S.D.= .52) 2) การรับรู้สิ่งแวดล้อมในการทำงานของพยาบาลห้องผ่าตัดอยู่ในระดับดี ( x = 3.22, S.D.= .41) 3) การรับรู้สมรรถนะของพยาบาลห้องผ่าตัดอยู่ในระดับสูง ( x = 4.37, S.D.= .46) 4) การรับรู้สิ่งแวดล้อมด้านมาตรฐานในการดูแลทางการพยาบาลอย่างมีคุณภาพ และสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดสามารถร่วมกันทำนายผลลัพธ์คุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.652, p < 0.01) โดยสามารถอภิปรายความผันแปรของผลลัพธ์คุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดได้ร้อยละ 42.50 (R2 = 0.425, p < 0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 |
คำสำคัญ |
ผู้ป่วยผ่าตัด, คุณภาพบริการพยาบาล, สิ่งแวดล้อมในการทำงาน, สมรรถนะของพยาบาลห้องผ่าตัด |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|