2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบคุณภาพของการตรวจให้คะแนนของแบบสอบอัตนัยวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้การออกแบบการตรวจให้คะแนนที่ต่างกัน: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือผลของการวัด 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 มิถุนายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Journal of Educational Measurement Mahasarakham University : JEM-MSU) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN 2651-1444 
     ปีที่ 29 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน 2566
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคุณภาพการตรวจให้คะแนนแบบสอบอัตนัยวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของผู้ตรวจให้คะแนนภายใต้รูปแบบการตรวจให้คะแนนต่างกัน 2. เพื่อศึกษาขนาดของแหล่งความแปรปรวนขององค์ประกอบและค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของคะแนนแบบสอบอัตนัยวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เมื่อจำนวนผู้ตรวจ และรูปแบบการตรวจให้คะแนนแตกต่างกัน 3. เพื่อเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง (G-Coefficient) ของแบบสอบอัตนัยวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ภายใต้รูปแบบการตรวจให้คะแนนต่างกัน และจำนวนผู้ตรวจต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 132 คน ได้จากการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน และกลุ่มผู้ตรวจให้คะแนนซึ่งเป็นครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 3 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบอัตนัยวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ประกอบไปด้วยข้อสอบจำนวน 3 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.22 – 0.69 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.56 – 0.80 ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของการตรวจให้คะแนนแบบสอบอัตนัยวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ผู้ตรวจให้คะแนนคนที่ 1 มีความเห็นพ้องในการตรวจแบบสอบเมื่อเทียบกับเกณฑ์การตรวจให้คะแนนข้อที่ 3 มากที่สุด ผู้ตรวจให้คะแนนคนที่ 2 มีความเห็นพ้องในการตรวจแบบสอบเมื่อเทียบกับเกณฑ์การตรวจให้คะแนนข้อที่ 1 และ 2 มากที่สุด ส่วนผู้ตรวจให้คะแนนคนที่ 3 มีความเห็นพ้องในการตรวจแบบสอบเมื่อเทียบกับเกณฑ์การตรวจให้คะแนนทั้ง 3 ข้อน้อยที่สุด และความเที่ยงในการตรวจให้คะแนนระหว่างผู้ตรวจ (Inter Rater Reliability) มีความสอดคล้องกันในระดับดีมาก 2) แหล่งความแปรปรวนในแต่ละรูปแบบการตรวจให้คะแนน รูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบ P x I x R แหล่งที่มีความแปรปรวนมากที่สุดคือ PI และแหล่งความแปรปรวนที่มีค่าน้อยที่สุดคือ PR และรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบ P x (I : R) แหล่งที่มีความแปรปรวนมากที่สุดคือ PI : R และแหล่งความแปรปรวนที่มีค่าน้อยที่สุดคือ PR 3) รูปแบบการตรวจให้คะแนนที่มีค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสูงที่สุดคือรูปแบบ P x I x R และจำนวนผู้ตรวจ 3 คน ผลการตรวจมีค่าความเที่ยงมากกว่าผู้ตรวจ 2 คน 
     คำสำคัญ ดัชนีความเห็นพ้องของผลการตรวจ, สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น, ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด 
ผู้เขียน
635050106-7 นาย สุรชัย มาตราช [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0