2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและรูปแบบการขยายตัวเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา ชุมชนเมืองนครพนม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 กรกฎาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการวางแผนภาคและเมือง 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม หลักสูตรการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่นและทางออนไลน์ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 23 กรกฎาคม 2564 
     ถึง 23 กรกฎาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) พ.ศ.2563/2564 
     Issue (เล่มที่) ครั้งที่ 8 ประจำปี 2563/2564 
     หน้าที่พิมพ์ 107 
     Editors/edition/publisher หลักสูตรการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่นครั้งที่ 8 ประจำปี 2563/2564 
     บทคัดย่อ ชุมชนเมืองนครพนมมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่มีการขยายตัวและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากนโยบายสนับสนุนทางด้านเศรษฐกิจที่กระตุ้นให้เกิดการลงทุนพัฒนาพื้นที่ โดยการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยทาการประยุกต์แบบจาลอง (CA-Markov) มาใช้เป็นเครื่องมือคาดการณ์ทิศทางการเติบโตของเมือง โดย เลือกศึกษาข้อมูลการใช้ที่ดินใน พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2558 และ พ.ศ. 2563 เพื่อคาดการณ์ในอีก 10 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ. 2573 และจากการตรวจสอบค่าความถูกต้องของแบบจาลอง พบว่ามีค่าความถูกต้องรวมเท่ากับร้อย ละ 97.58 ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ในพ.ศ.2553 มีพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 10,236 ไร่ ในพ.ศ. 2558 มีพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 12,252 ไร่ และในพ.ศ.2563 มีพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 15,537 ไร่ เมืองมีการกระจุกตัวอย่างหนาแน่นบริเวณศูนย์กลางเมือง โดยเฉพาะชุมชนที่มีบทบาทด้านการปกครองและ การค้า พบการตั้งถิ่นฐานแบบแนวยาวปรากฎชัดตามแนวเส้นทางคมนาคม (ทล. 22 ,212) และจากผลการ คาดการณ์ในพ.ศ. 2573 พบว่า พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 20,840 ไร่ มีการขยายตัว ลักษณะแผ่ขยายออกไปยังพื้นที่ชานเมือง มีการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดินเกษตรกรรมเป็นพื้นที่ชุมชนและ สิ่งปลูกสร้างและมีการรวมกลุ่มของชุมชนที่มีความเป็นพื้นที่เมืองมากขึ้น 
ผู้เขียน
625200009-0 น.ส. วรัญญา ชอบใหญ่ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0