2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แนวทางการส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพวิถีใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 GUIDELINES FOR PROMOTING THE NEW NORMAL PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITIES IN SCHOOLS UNDER NONG KHAI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 1  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 กรกฎาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
     ISBN/ISSN
     ปีที่ ปีที่8 
     ฉบับที่ ฉบับที่ 1 
     เดือน เดือน มกราคม - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพวิถีใหม่ของสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพวิถีใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 302 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดโรงเรียน และกำหนดสัดส่วนแล้วนำมาสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และ มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นจากสูตร (PNI Modifed) และจัดลำดับความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพวิถีใหม่ของสถานศึกษา โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน การวิเคราะข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอโดยการพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพวิถีใหม่ของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้านพบว่า การทำงานร่วมกันเป็นทีม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และการมีวิสัยทัศน์ร่วมวิถีใหม่ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด สภาพที่พึงประสงค์ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพวิถีใหม่ของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายข้อพบว่า การทำงานร่วมกันเป็นทีม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และการมีวิสัยทัศน์ร่วมวิถีใหม่ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โดยค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพวิถีใหม่ของสถานศึกษา พบว่า ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือการทำงานร่วมกันเป็นทีม(PNIModified = 0.084) และต่ำสุด คือการมีวิสัยทัศน์ร่วมวิถีใหม่ (PNIModified= 0.100) 2. แนวทางส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพวิถีใหม่ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 พบว่า 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมวิถีใหม่ สถานศึกษาและครูร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมวิถีใหม่ และค่านิยมร่วมที่สอดคล้องกับวิถี New Normal มุ่งเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) ภาวะผู้นำร่วม แต่งตั้งครูแกนนำ (Master Teacher) เป็นหัวหน้าทีมในการพัฒนาซึ่งกันและกัน และหมุนเวียนกันเป็นหัวหน้าทีม ซึ่งจะทำให้ครูทุกคนมีโอกาสได้พัฒนาภาวะผู้นำตนเองในกระบวนการ PLC 3) ชุมชนกัลยาณมิตร สร้างชุมชนวิชาชีพภายใต้ระบบการนิเทศ เพื่อช่วยเหลือและให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการสอนแก่เพื่อนครูด้วยความจริงใจมีความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน รวมทั้งสนับสนุนให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนจากผลของการพัฒนาร่วมกันสู่ความเป็นครูมืออาชีพ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และประยุกต์ใช้ ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ Big Data และการสื่อสาร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ครูในการเข้าถึงข้อมูล 5) การทำงานร่วมกันเป็นทีม จัดตั้งครูแกนนำของทีมเน้นการกระจายอำนาจ ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกแก่ครูในการปฏิบัติงานการกระตุ้น และส่งเสริมสมาชิกในทีมให้เกิดพลังในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน  
     คำสำคัญ ความต้องการจำเป็น, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ,วิถีใหม่, สถานศึกษา 
ผู้เขียน
635440005-1 นาย ประจักษ์ อินทะวัน [ผู้เขียนหลัก]
คณะสหวิทยาการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0