2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ยในราชอาณาจักรกัมพูชา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 มิถุนายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 
     ISBN/ISSN ISSN (Print) 1906 - 7062 ISSN (Online) 2697 - 4894 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า 17-30 
     บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่อง “บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย ในราชอาณาจักรกัมพูชา” ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่ง ในวัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก สาขาดุริยางคศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยผู้วิจัยสนใจเนื้อหาด้านวัฒนธรรมทางดนตรีจาเป็ย โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประเด็นคือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย ในราชอาณาจักรกัมพูชาในพิธีกรรมต่าง ๆ 2) บทบาทหน้าที่ของจาเป็ยในวัฒนธรรมการเจรียง ในราชอาณาจักรกัมพูชา ผลการศึกษาพบว่า 1. บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย ในราชอาณาจักรกัมพูชาในพิธีกรรมต่าง ๆ ใช้บรรเลงประกอบในวงดนตรีต่าง ๆ โดยปรากฏ 4 วงคือ (1) วงเพลงการ์กูล คือวงดนตรีอารักษ์เพื่อใช้ประกอบการเลี้ยงเทวดา หรือเรียกอีกอย่างว่าพิธีเข้าทรงอารักษ์เป็นพิธีบวงสรวง (2) วงเพลงการ์โบราณ โดยชื่อของวงเพลงการ์โบราณ เป็นพิธีมงคลสมรสของชาวเขมร (3) วงเพลงมโหรี เป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานมงคลทั่วไป เช่น งานขึ้นบ้านใหม่งานบวช งานเลี้ยงต้องรับที่เน้นการบรรเลงคลอภายในงาน หรืองานแต่งงาน และ (4) วงพระบิตร หรือ วงเพลงปี่แก้ว เป็นชื่อเพลงที่มีความสำคัญเพลงหนึ่ง ในพิธีอัญเชิญพระวิญญาณในพระราชวงศานุวงศ์ของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ 2. บทบาทหน้าที่ของจาเป็ยในวัฒนธรรมประกอบการร้องเจรียง ซึ่งการร้องเจรียงคือการร้องเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เป็นทำนองด้วยภาษาเขมรควบคู่หรือสลับการดีดจาเป็ย โดยเนื้อหาของการร้องเจรียงเป็นการเล่าเรื่องบรรยายให้ผู้ฟังจินตนาภาพตามเนื้อหานั้น ๆ โดยอาศัยเสียงของเครื่องดนตรีจาเป็ยสร้างอรรถรสให้กับเนื้อหา เช่น หากเนื้อหาในตอนใดกล่าวถึงความตื่นเต้นน่ากลัวนักดนตรีจะบรรเลงเร็ว ๆ และดีดเน้นจังหวะของจาเป็ยให้เร็วและดังขึ้น ส่วนเนื้อหาในตอนใดต้องการสื่อถึงความโศกเศร้าจะบรรเลงให้ช้าลงสลับกับร้องเอื้อนเสียงให้เป็นทำนอง และนิยมบรรเลงเกริ่นนำด้วย เพลงพักเจือย จากนั้นจึงเริ่มร้องเข้าเนื้อหาที่จะเล่าโดยระหว่าร้องเจรียงนั้นจะสลับการดีดจาเป็ยไปเรื่อย ๆ จากนั้นเมื่อเนื้อเรื่องเล่าใกล้จะจบ นักร้องจะบรรเลงทำนองเดิมอีกครั้ง โดยถือเป็นการจบกระบวนการร้องเจรียงจาเป็ยในหนึ่งเรื่อง 
     คำสำคัญ บทบาทหน้าที่, วัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย, ราชอาณาจักรกัมพูชา 
ผู้เขียน
607220018-9 นาย ธัญญะ สายหมี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0