2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article กลวิธีการบรรเลงซอด้วงและแฮกึม: ความเหมือนและความต่างPlaying Techniques on Saw Duang and Haegeum Fiddles: Similarities and Differences 
Date of Acceptance 23 November 2021 
Journal
     Title of Journal วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ISSN : 1906-6023 
     Volume ปีที่ 15 
     Issue ฉบับที่ 1 
     Month เดือนมกราคม – มิถุนายน
     Year of Publication 2023 
     Page
     Abstract บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเรื่อง กลวิธีการบรรเลงซอด้วงและแฮกึม : ความเหมือนและความต่าง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและการปฏิบัติซอด้วงและแฮกึม เพื่อศึกษากลวิธีการบรรเลงซอด้วงและแฮกึม และเพื่อศึกษาความเหมือนและความต่างของซอด้วงและแฮกึม ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์ ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลจากภาคสนามนำมาวิเคราะห์โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางกายภาพและการปฏิบัติของซอด้วงและแฮกึม มีลักษณะทางกายภาพ 10 ส่วนประกอบ การปฏิบัติ 3 วิธี กลวิธีการบรรเลงซอด้วงและแฮกึมสามารถแบ่งออกเป็นกลวิธีในการบรรเลงรวมวงและการบรรเลงเดี่ยว ความเหมือนและความต่างของซอด้วงและแฮกึม ด้านลักษณะทางกายภาพแตกต่างกันที่รัดอกและความตึงหย่อนของคันชัก การปฏิบัติซอด้วงกดสายด้วยปลายนิ้วและควบคุมคันชักด้วยน้ำหนักพอประมาณ แฮกึมใช้การกดสายด้วยท้องนิ้วข้อที่สอง นิ้วนางและนิ้วก้อยมีตำแหน่งเสียงสองเสียง แฮกึมใช้น้ำหนักควบคุมคันชักค่อนข้างมากและมีลีลาการใช้น้ำหนักเบาและดังได้หลากหลายกว่าซอด้วง ด้านกลวิธีพบความเหมือน 4 กลวิธี ดังนี้ 1.พรมปิดตรงกับกลวิธีชันจันฮะกเย, คูนกเยและคูนกเย พูลอ ตอนึน นงฮยอน 2.การเปลี่ยนตำแหน่งนิ้วตรงกับอูลิมและเนลิมของแฮกึม 3.การทดนิ้ว 4.การกระทบเสียงตรงกับการกดสองเสียงด้วยนิ้วกลาง ความต่างที่เป็นลักษณะเฉพาะของซอด้วงพบ 4 กลวิธี ดังนี้ พรมเปิด คลึงนิ้ว ประนิ้ว และขยี้นิ้ว แฮกึมมี 2 กลวิธี คือ ทเวซอง และการใช้โน้ตประดับ ( ) กลวิธีการบรรเลงมือขวาของซอด้วงและแฮกึม พบความเหมือน 10 กลวิธี ความต่างที่เป็นลักษณะเฉพาะของซอด้วงพบ 2 กลวิธี คือ การย้อยจังหวะและคันชักสะอึก ลักษณะเฉพาะของแฮกึมมี 6 กลวิธีซึ่งเป็นกลวิธีที่เกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์บทเพลง คำสำคัญ : ซอด้วง, แฮกึม, กลวิธีการบรรเลง Abstract The research of Playing Techniques on Saw Duang and Haegeum Fiddles: similarities and differences has three purposes, firstly, to study the physical characteristics and the practice of Saw Duang and Haegeum, secondly, to study strategies in playing Saw Duang and Haegeum and lastly, to study the similarities and differences of Saw Duang and Haegeum. The researcher has studied data from the fieldwork and analyzed them by using a qualitative research methodology. The study results show that there are 10 Physical and Practical Characteristics of Saw Duang and Haegeum, three practices. Saw Duang and Haegeum playing Techniques can be divided into ensemble and solo. Similarities and differences between their physical characteristics are different of Rad-ok and bow tension. Saw Duang must be pressed the string with the fingertips and controlled the bow fit while Haegeum must be pressed the strings with a second finger joint. The ring finger and little finger have two sound positions. Haegeum uses more weight to control has more dynamics. The left-hand techniques share four techniques which are: 1.Prom pid is like Three of nonghyeon. 2.Changing finger position on Haegeum's Ulim and Nelim. 3.“Tod New” 4.“Kratop Siang” matches the two-sound pressing with the middle finger. The differences of Saw Duang are found in 4 techniques: Prom perd, finger rolling, dapping, and rubbing. Haegum has two techniques: Twesong and ornamental ( ). The right-hand techniques share 10 likeness There are two specific Saw Duang techniques: Yoy Jangwa and Sa Euk bow. Haegeum's characteristics include six techniques which are about controlling the mood of the song. Keyword : Saw Duang, Haegeum, Playing Techniques  
     Keyword คำสำคัญ : ซอด้วง, แฮกึม, กลวิธีการบรรเลง Keyword : Saw Duang, Haegeum, Playing Techniques  
Author
587220019-5 Miss ONUMA VEJAKORN [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0