2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การออกแบบวิธีการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์ โดยการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบอัตโนมัติผ่านการเรียนรู้ของเครื่อง  
Date of Acceptance 27 May 2022 
Journal
     Title of Journal วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Journal of Educational Measurement Mahasarakham University : JEM-MSU) 
     Standard TCI 
     Institute of Journal ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     Volume 29 
     Issue
     Month มกราคม-มิถุนายน
     Year of Publication 2023 
     Page  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ผลการตอบของผู้เรียนในระดับแผนที่โครงสร้าง มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน การออกแบบตัวเลือกแบบเลือกตอบ การกำหนดจุดตัด และข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการทำนายระดับความสามารถของผู้เรียน และ (2) เพื่อออกแบบวิธีการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน จากการให้ข้อมูลป้อนกลับอัตโนมัติผ่านการเรียนรู้ของเครื่อง โดยใช้การวิจัยการออกแบบ กลุ่มผู้สอบ คือผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 713 คน ใช้แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์แบบพหุมิติ ประกอบด้วยมิติความรู้และมิติการให้เหตุผล โดยใช้โมเดล MRCMLวิเคราะห์ผลการตอบของผู้เรียน และออกแบบวิธีการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ผลการตอบของผู้เรียน พบว่า (1) ระดับความสามารถของข้อสอบตามแผนที่โครงสร้างสามารถวัดระดับความสามารถของผู้เรียนได้ตามระดับแผนที่โครงสร้าง และมีบางข้อที่ผู้เรียนมีความสามารถเกินความสามารถรายข้อที่กำหนดไว้ (2) ผู้เรียนส่วนมากมีรูปแบบมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนรายข้อในรูปแบบความเข้าใจผิดเกี่ยวกับมโนทัศน์และภาษา และทั้งฉบับในมิติด้านความรู้ในระดับความไม่เข้าใจ และมิติการให้เหตุผลในระดับที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (3) ออกแบบตัวเลือกแบบเลือกตอบจากคำตอบของผู้เรียน โดยตัวเลือกมีคะแนนหลายค่าตามระดับความสามารถของตัวเลือก (4) กำหนดจุดตัดโดยการกำหนดพื้นที่บน Wright map ในมิติความรู้ได้ 5 ระดับ 4 จุดตัดที่ -0.50 0.50 0.42 และ 1.19 ตามลำดับ และมิติการให้เหตุผลได้ 4 ระดับ 3 จุดตัดที่ -0.19 2.29 และ 5.49 ตามลำดับ และ (5) ข้อมูลพื้นฐานที่สามารถทำนายระดับความสามารถของผู้เรียนได้ คือ เกรดเฉลี่ยรวม เกรดเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์ และจำนวนชั่วโมงที่ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ 2. ผลการออกแบบวิธีการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์ โดยการให้ข้อมูลป้อนกลับอัตโนมัติผ่านการเรียนรู้ของเครื่องประกอบด้วย 4 ส่วน คือ (1) ส่วนรับข้อมูล (2) ส่วนประมวลผล (3) การให้ข้อมูลป้อนกลับอัตโนมัติ และ (4) ส่วนรายงานผลการประเมิน  
     Keyword การวินิจฉัย ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน การป้อนกลับอัตโนมัติ การเรียนรู้ของเครื่อง โมเดลพหุมิติสัมประสิทธิ์การสุ่มแบบโลจิท 
Author
635050104-1 Miss SARUNTHORN INTHASIRI [Main Author]
Education Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0

<
forum