2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ บทเพลงฝึกหัดซอสามสายเบื้องต้นสายพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พันศักดิ์ วรรณดี Piece for Practicing Basic Saw Sam Sai from Phraya Phumi Sewin (Chitr Chittasewi) by Assistant Professor Pansak Wandee  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 15 สิงหาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ 
     ISBN/ISSN ISSN : 1906-0327 
     ปีที่ ปีที่ 17 
     ฉบับที่ ฉบับที่ 2  
     เดือน เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ บทความนี้ ผู้เขียนมีความประสงค์ที่นำเสนอให้เห็นถึงหลักการสีซอสามสายพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) โดยศึกษาจากเพลงไล่เสียง และเพลงต้นเพลงฉิ่ง สามชั้น ประกอบการคลอร้อง ตามรูปแบบของสายสำนักพระยาภูมี (จิตร จิตตเสวี) โดยเป็นองค์ความรู้ที่ผู้เขียนได้รับการถ่ายทอดจากผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ วรรณดี แบบฝึกหัดเพลงไล่เสียง เป็นแบบฝึกหัดปฐมบทที่พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ได้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ในการฝึกหัดซอสามสายขั้นพื้นฐานเบื้องต้น เป็นพื้นฐานการปฏิบัติที่สำคัญที่พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ได้วางหลักวิธีการปฏิบัติไว้ให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดเบื้องต้น เมื่อผู้เรียนสามารถบรรเลงเพลงไล่เสียงนี้ได้ จะมีทักษะพื้นฐานการใช้นิ้วทั้งสามสาย การใช้คันชัก และการพลิกหน้าซอ จากนั้นจะเริ่มต่อเพลงพื้นฐานในลำดับต่อไป โดยเป็นเพลงที่มี การใช้นิ้ว 2 รูปแบบ คือ วรรคที่ 1 และวรรคที่ 2 ใช้นิ้วรูปแบบเดียวกัน วรรคที่ 3 และวรรคที่ 4 ใช้นิ้วในรูปแบบเดียวกัน แต่มีการใช้นิ้วครบทั้งสามสาย เพลงต้นเพลงฉิ่ง สามชั้น เป็นเพลงที่พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ใช้เป็นเพลงพื้นฐานหลังจากต่อเพลงไล่เสียง เป็นทางเพลงที่ท่านได้ประพันธ์ขึ้น เพื่อความสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนักคันชักในคู่เสียงประสาน ฝึกหัดการใช้กันชัก 4 การใช้คันชัก 8 อย่างเป็นระบบ ฝึกการใช้นิ้วครบทั้ง 4 นิ้ว และนิ้วสำคัญในซอสามสายคือนิ้วชุน บทเพลงทั้งสองเพลงนี้เป็นบทเพลงที่มีทำนองซ้ำ ไม่มีความซับซ้อนมาก มีการฝึกหัดการใช้นิ้วและการฝึกใช้คันชักอย่างเป็นระบบเหมาะสมต่อการใช้เป็นบทเพลงเพื่อการฝึกหัดซอสามสายเบื้องต้น คำสำคัญ : ซอสามสาย, แบบฝึกหัด, พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี), พันธ์ศักดิ์ วรรณดี ABSTRACT This article aimed to present the principle of playing Saw Sam Sai from Phraya Phumi Sewin (Chitr Chittasewi) by studying from Lai Siang song and Ton Pleng Ching song accompanying Klo Rong (Accompaniment) according to the form of the Phraya Phumi Sewin (Chitr Chittasewi), which is the body of knowledge that the author has been transferred from Assistant Professor Pansak Wandee. The high and low pitch practicing song is the introductory exercise Phraya Phumi Sewin (Chitr Chittasewi) had invented for learners to use in practicing the basic Saw Sam Sai. It is an essential fundamental practice that Phraya Phumi Sewin (Chitr Chittasewi) had laid down for the learners. When the learners can play this song, they will be equipped with basic skills of fingering for the three strings, using the bow and flipping the fiddle. They will then begin to practice the basic songs which are songs that use two patterns of fingering: the same finger pattern with phases 1 and 2, and the same finger pattern with phases 3 and 4 in which fingering is practiced with all three strings. Regarding the three-layered cymbal songs, Phraya Phumi Sewin (Chitr Chittasewi) used this song as the base song after the high and low pitch practicing song. He had composed this song for consistency, bow weight control in chorus pairs, practice using bow 4 and bow 8 systematically as well as practice using all four fingers, and the Shun finger which is the key finger for playing Saw Sam Sai. Therefore, these two songs are repetitive songs which are simple with systematic fingering and bow practices suitable to be applied as a song for basic Saw Sam Sai practice. Keywords: Saw sam sai, Piece for practicing basic, Phraya Phumi Sewin (Chitr Chittasewi), Pansak Wandee  
     คำสำคัญ คำสำคัญ : ซอสามสาย, แบบฝึกหัด, พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี), พันธ์ศักดิ์ วรรณดี Keywords: Saw sam sai, Piece for practicing basic, Phraya Phumi Sewin (Chitr Chittasewi), Pansak Wandee 
ผู้เขียน
587220019-5 น.ส. อรอุมา เวชกร [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0