2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การออกแบบวิธีการตรวจให้คะแนนอัตโนมัติเพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางสมรรถนะวิทยาศาสตร์ผ่านการเรียนรู้ของเครื่อง  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 27 พฤษภาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Journal of Educational Measurement Mahasarakham University : JEM-MSU) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN 2651-1444 
     ปีที่ 29 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การออกแบบวิธีการตรวจให้คะแนนอัตโนมัติเพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางสมรรถนะวิทยาศาสตร์ผ่านการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning) เป็นการออกแบบวิธีการตรวจให้คะแนนแบบสอบวินิจฉัยรูปแบบผสมเพื่อประเมินระดับสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้เครื่องตรวจคะแนนในขั้นตอนเดียว นวัตกรรมนี้สามารถรายงานผลและให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนแบบเรียลไทม์ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่การออกแบบนวัตกรรมต้นแบบดังนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์ผลการตอบของผู้เรียนสู่การออกแบบนวัตกรรมต้นแบบ ประกอบด้วยรูปแบบและระดับของมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางสมรรถนะวิทยาศาสตร์ การกำหนดจุดตัดจากผลการตอบแบบวินิจฉัยสมรรถนะวิทยาศาสตร์ และการกำหนดตัวแปรเพื่อสร้างสมการทำนายจากข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน และ (2) เพื่อออกแบบวิธีการตรวจให้คะแนนอัตโนมัติในการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางสมรรถนะวิทยาศาสตร์ผ่านการเรียนรู้ของเครื่อง การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติภูมิจากกลุ่มผู้สอบคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 847 คน วิเคราะห์ข้อมูลตามโมเดลพหุมิติสัมประสิทธิ์การสุ่มแบบโลจิท (MRCMLM) และกำหนดจุดตัดบน wright map ผลการศึกษาพบว่า (1) เกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนขึ้น 5 รูปแบบ และการหาจุดตัดทางสมรรถนะวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 มิติ พบว่า มิติด้านการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ มีจุดตัดที่ -0.49 0.27 และ 0.83 มิติด้านการประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีจุดตัดที่ -0.09 0.54 และ 1.72 ตามลำดับ และมิติด้านการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์มีจุดตัดที่ -0.78 0.47 และ 2.98 ตามลำดับ นอกจากนี้พบตัวแปรต้นที่สำคัญ คือ (1) เกรดเฉลี่ยรวมเทอมที่ผ่านมา (2) เกรดเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์เทอมที่ผ่านมา และ (3) จำนวนชั่วโมงที่ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง/สัปดาห์ (2) การออกแบบวิธีการตรวจให้คะแนนอัตโนมัติเพื่อวินิจฉัยสมรรถนะวิทยาศาสตร์ในข้อสอบอัตนัยใช้วิธีการจับคำ (keywords) และใช้วิธีการแปลงคำตอบจากการสังเคราะห์ผลการตอบในข้อมูลทุติยภูมิให้เป็นตัวเลือกเพื่อช่วยให้การตรวจให้คะแนนและประมวลผลระดับสมรรถนะและการรายงานระดับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางสมรรถนะวิทยาศาสตร์สามารถทำได้แบบอัตโนมัติและเรียลไทม์ สำหรับผลการประเมินคุณภาพการออกแบบวิธีการตรวจให้คะแนนจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ครอบคลุมทั้ง 5 มาตรฐาน คือ ด้านอรรถประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสมชอบธรรม ด้านความถูกต้อง และด้านความรับผิดชอบการประเมิน  
     คำสำคัญ การเรียนรู้ของเครื่อง, วิธีการตรวจให้คะแนนอัตโนมัติ, มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน, สมรรถนะวิทยาศาสตร์, โมเดลพหุมิติสัมประสิทธิ์การสุ่มแบบโลจิท 
ผู้เขียน
635050101-7 น.ส. ประไพพิมพ์ ทองเปราะ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0