2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ DEVELOPMENT OF WEB-BASED LEARNING WITH AUGMENTED REALITY (AR) TO PROMOTE ANALYTICAL THINKING ON COMPUTATIONAL THINKING FOR HIGH SCHOOL 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 สิงหาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ICITL 2022 International Conference of Innovative Technologies and Learning 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม Porto, Portugal & Virtual  
     สถานที่จัดประชุม Online 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 สิงหาคม 2565 
     ถึง 31 สิงหาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 13449 
     Issue (เล่มที่) 978-3-031-15272-6 
     หน้าที่พิมพ์ 125 - 133 
     Editors/edition/publisher Yueh-Min Huang, Shu-Chen Cheng, João Barroso, Frode Eika Sandnes/Springer, Cham 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่องแนวคิดเชิงคำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 35 คน ที่เรียนในรายวิชา ว 31181 เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Richey and Klein, 2007) ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการออกแบบ กระบวนการพัฒนา และกระบวนการประเมิน ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่องแนวคิดเชิงคำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนา 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งเรียนรู้ 3) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) ศูนย์ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 5) ฐานการช่วยเหลือ 6) ศูนย์ให้คำแนะนำ 2. ผลการศึกษาการคิดวิเคราะห์พบว่า ผู้เรียนจำนวน 35 คน ได้คะแนนเต็มจากการทดสอบ 30 คะแนน มีผู้เรียนจำนวน 35 คน ที่ได้คะแนนตั้งแต่ 21 คะแนนขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 98.1 ของผู้เรียนทั้งหมด มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 29.43 (S.D. = 0.74) แยกเป็นด้านต่าง ๆ ของการคิดวิเคราะห์ได้ดังนี้ การวิเคราะห์ส่วนประกอบมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 5.71 (S.D. = 0.46) คิดเป็นร้อยละ 95 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 7.86 (S.D. = 0.36) คิดเป็นร้อยละ 98.3 และการวิเคราะห์หลักการมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 15.57 (S.D. = 0.50) คิดเป็นร้อยละ 86.5 ซึ่งจะเห็นได้ว่าคะแนนเฉลี่ยของการคิดวิเคราะห์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ตามที่กำหนดไว้ 3. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า ผู้เรียนจำนวน 35 คน ได้คะแนนเต็มจากการทดสอบ 10 คะแนน มีผู้เรียนจำนวน 35 คน ที่ได้คะแนนตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้เรียนทั้งหมด มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 8.4 (S.D. = 0.69) และจากการทดสอบหลังเรียนของผู้เรียน จำนวน 35 คน มีผู้เรียนจำนวน 35 คน ที่ได้คะแนนตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไป100 ของผู้เรียนทั้งหมด มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 9.89 (S.D. = 0.32) ซึ่งจะเห็นได้ว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียน และการทดสอบหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ตามที่กำหนดไว้ 4. ผลการศึกษาความพึงพอใจพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 4.56 (S.D. = 0.66) 2) ด้านผู้สอน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น (S.D. = 0.63) 3) ด้านบทเรียนบทเครือข่ายที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 4.54 (S.D. = 0.61) และ 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 4.45 (S.D. = 0.49)  
ผู้เขียน
635050129-5 น.ส. ชยาภรณ์ ทับวิธร [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0