2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ วัฒนธรรมการเส็งกลองกิ่งของชาวอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 1 กันยายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN 2586-9493(ISSN: 2697-4967 Online) 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า
     บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการเส็งกลองกิ่งและการประเมินคุณค่าของชาวอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 2. เพื่อศึกษากระบวนการสืบทอดการเส็งกลองกิ่งของชาวอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 9 คน ที่มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร/วรรณกรรม/แบบสัมภาษณ์/แบบบันทึก/แบบสังเกต/อื่นๆ มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมการเส็งกลองกิ่งและการประเมินคุณค่าของชาวอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการตีแข่งขันเพื่อประชันความดัง มีการเล่นอยู่สองรูปแบบ คือ การเส็งกลองหน้าแคบและการเส็งกลองหน้ากว้าง การเส็งกลองหน้าแคบ จะเป็นลักษณะกลอง หน้าเล็ก ขนาดลำตัวของกลองกะทัดรัด เป็นกลองที่ใช้เพื่อแข่งขันเอากลองที่มีเสียงสูงและเสียงใส ส่วนการเส็งกลองหน้ากว้าง ลักษณะของหน้ากลองจะกว้างกว่ากลองเส็งแบบหน้าแคบ ขนาดลำตัวของกลองมีขนาดใหญ่ โดยจะเป็นกลองที่มีเสียงต่ำ ในการแข่งขันจะเน้นไปในเรื่องของความดังกลบเสียงกลองของคู่แข่ง ในการประเมินค่าและการตัดสิน กรรมการที่ตัดสินจะใช้ 3-5 คน ตัดสินการเส็งกลองกิ่งทั้งสองรูปแบบ โดยจะใช้หูในการฟังเสียงของกลองของแต่ละคณะ ไม่ได้มีการใช้เครื่องวัดเสียงในการตัดสินแต่อย่างใด 2) เพื่อศึกษากระบวนการสืบทอดการเส็งกลองกิ่งของชาวอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน จากรุ่นสู่รุ่น โดยพระครูสุนทรปริยัติจนมาถึงพระอาจารย์อุดล อฺคคธฺมโม และได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการ ส่งผลให้วัฒนธรรมการเส็งกลองกิ่ง เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ได้คงอยู่คู่กับชาวร่องคำและจังหวัดกาฬสินธุ์มาอย่างต่อเนื่อง เพราะกลองเส็งถือว่าเป็นการช่วยสร้างเสริมความสามัคคีของคนในชุมชนสร้างความผูกพันและเข้าใจกันดี 
     คำสำคัญ วัฒนธรรม, การเส็งกลองกลองกิ่ง, การสืบทอด 
ผู้เขียน
625220014-5 ว่าที่ ร.ต. เนติพงศ์ วุฒิพรม [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0