2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ อิทธิพลของการจัดการใบอ้อยที่ระยะเก็บเกี่ยวต่อการงอกและการแตกกอของอ้อยตอ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 2 กันยายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 51 
     ฉบับที่
     เดือน ม.ค.-ก.พ.
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ เกษตรกรส่วนใหญ่มักเผาใบอ้อยในช่วงเก็บเกี่ยว เนื่องจากสามารถลดเวลาและแรงงานคนในการตัดได้ แต่การเผาอ้อยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นมลภาวะทางอากาศ ทำให้ดินสูญเสียความชุ่มชื้น ทำลายจุลินทรีย์ในดิน ส่งผลทำให้ดินเสื่อมโทรม ซึ่งอาจส่งผลถึงการงอกและเจริญเติบโตของอ้อยตอได้ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการจัดการเศษซากใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมต่อการงอกและการแตกกอของอ้อยตอ ดำเนินการศึกษา ณ แปลงเกษตรกร อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ใช้แผนการทดลองสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก randomized complete block design (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ มี 3 กรรมวิธี ได้แก่ 1) เผาใบอ้อย 2) วางใบอ้อยคลุมแปลง และ 3) วางใบอ้อยคลุมแปลง ร่วมกับ พด.1 บันทึกข้อมูลการงอกของอ้อยที่ระยะ 2 เดือนหลังการจัดการเศษซากใบอ้อย ข้อมูลความสูงต้น เส้นผ่านศูนย์กลางลำ ค่าความเขียวเข้มของใบ และจำนวนลำต่อกอ ที่อายุ 4 6 8 และ 10 เดือน บันทึกน้ำหนักต่อลำที่อายุ 10 เดือน ผลการศึกษาพบว่าที่ระยะ 2 เดือนหลังการจัดการเศษซากใบอ้อย กรรมวิธีการเผาใบอ้อย มีจำนวนหน่อต่อกอสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ส่วนความสูงต้น เส้นผ่านศูนย์กลางลำ และค่าความเขียวเข้มของใบไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างทุกกรรมวิธีในทุกระยะการเจริญเติบโต นอกจากนี้กรรมวิธีการเผาใบอ้อยมีจำนวนลำต่อกอสูงที่สุด อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ที่อายุ 4 เดือน ในขณะที่อ้อยอายุ 6 8 และ 10 เดือน กรรมวิธีการวางใบอ้อยคลุมแปลงร่วมกับ พด.1 มีจำนวนลำต่อกอสูงที่สุด อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) และส่งผลให้มีน้ำหนักต่อลำสูงที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จากผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าการเผาใบอ้อยที่ระยะเก็บเกี่ยวทำให้อ้อยมีการงอกสูงที่สุด แต่เมื่อเข้าสู่ระยะแตกกอ ระยะสะสมน้ำตาล และระยะเก็บเกี่ยว พบว่า การวางเศษซากใบอ้อยร่วมกับ พด. 1 ทำให้อ้อยตอมีจำนวนลำต่อกอ และน้ำหนักต่อลำสูงที่สุด ดังนั้น การจัดการซากใบอ้อยที่ระยะเก็บเกี่ยว โดยการวางใบอ้อยร่วมกับ พด. 1 สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยตอได้สูงสุด 
     คำสำคัญ การจัดการเศษซากใบอ้อย; เผาใบอ้อย; วางเศษซากใบอ้อย; พด.1 
ผู้เขียน
577030021-5 น.ส. วิมล ภูกองไชย [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0