2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ พัฒนาการของพิธีเหยาในชุมชุนบ้านโคกโก่ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 กันยายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 (FAR8) “The Future of Arts: The Challenges to Artists” ศิลป์ท้า เวลา ท้าศิลป์ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 กันยายน 2565 
     ถึง 4 กันยายน 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1293-1304 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของพิธีเหยาในชุมชุนบ้านโคกโก่ง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลภาคเอกสารและภาคสนาม โดยการสักเกต การสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ประกอบภาพถ่าย ผลการวิจัยพบว่าพัฒนาการของพิธีเหยาในชุมชุนบ้านโคกโก่ง จังหวัดกาฬสินธุ์ แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา พิธีเหยาช่วงอดีต (ตั้งแต่ พ.ศ. 2432-2525) เนื่องจากมีผู้คนได้อพยพมาจากตำบลหนองสูง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร มาตั้งหมู่บ้านอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านโคกโก่งในปัจจุบัน ในอดีตชาวบ้านเกิดโรคภัยไข้เจ็บ พยายามรักษาด้วยสมุนไพรแต่ก็ไม่หายจึงพาไปหาหมอส่อง พบว่า มีผีต้องการมาอยู่ด้วย จึงทำพิธีรับผีลงมา ซึ่งในห้วงเวลาเดียวกันในแต่ละหมู่บ้านจะมีหมอเหยาเกิดขึ้น จากนั้นในแต่ละปีต้องมีการจัดพิธีกรรมขึ้นเพื่อเป็นการเลี้ยงขอบคุณผีที่มาคุ้มครองปกปักรักษา และได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเรื่อยมา จนถึงช่วงที่ 2 พิธีเหยาในปัจจุบัน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2526-ปัจจุบัน) พบว่า พิธีกรรมการเหยามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ได้แก่ ผู้เข้าร่วมในพิธีกรรม เครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี วันเวลา และสถานที่ในการประกอบพิธีกรรม เครื่องคาย เครื่องเล่น เวทมนต์คาถาหรือบทสวด ขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม ตามลำดับ และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการ อุปกรณ์และขั้นตอนในพิธีเหยาเพื่อความสะดวก คล่องตัวและทันยุคทันสมัย 
ผู้เขียน
635220007-3 นาย ธนวิชญ์ สุดงูเหลือม [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0