2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title สิงคาลกสูตรในกลอนลำของหมอลำกลอนอีสาน 
Date of Distribution 3 September 2022 
Conference
     Title of the Conference โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 (FAR8) “The Future of Arts: The Challenges to Artists” 
     Organiser คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State จังหวัดขอนแก่น 
     Conference Date 3 September 2022 
     To 4 September 2022 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 1256 
     Editors/edition/publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ 
     Abstract บทความเรื่อง สิงคาลกสูตรในกลอนลำของหมอลำกลอนอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการประพันธ์กลอนลำเกี่ยวกับสิงคาลกสูตรในกลอนลำของหมอลำกลอนอีสานและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสิงคาลกสูตรในกลอนลำของหมอลำกลอนอีสาน โดยศึกษาข้อมูลทั้งจากเอกสารและจากการลงพื้นที่ ด้วยวิธีการสังเกต และสัมภาษณ์ทั้งชนิดที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างสำหรับกลุ่มผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และผู้เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1. นายมีฤทธิ์ ปัญญาวงษ์ 2. นางจินตนา เย็นสวัสดิ์ 3. นางทองวรรณ บุญเที่ยง 4.นายวิรัช ประทุมมัง 5. นางบัวผัน จักรพิมพ์ และ 6.พระมหาใจ เขมจิตฺโต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบวิเคราะห์ตามทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การประพันธ์กลอนลำที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสิงคาลกสูตรนั้น แบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ 1. ยุคแผ่นเสียง หมายถึงยุคของการเริ่มต้นบันทึกเสียงลงในระบบแผ่นเสียง โดยจะมีเนื้อเกี่ยวกับการพรรณนาป่าไม้ ชมนกชมเขา หรือลำล่องโขง เป็นต้น โดยเริ่มต้นจากการนำเอากลอนลำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคติธรรมมาแทรกบ้าง 2.ยุคลำโจทย์แก้ หมายถึงยุคของการลำประชันปุจฉา วิสัชนา ถามตอบเกี่ยวกับปัญหา ซึ่งเริ่มมีการนำเอาบทพระสูตรในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามาประพันธ์เพื่อที่จะอวดภูมิความรู้ของหมอลำ 3. ยุคลำประยุกต์ เป็นยุคของหมอลำที่เรียนลำจากครูอาจารย์ในยุคที่ 2 นำเอาความรู้ ที่ได้เรียนมาแล้วมาประยุกต์เข้ากับตัวบทสิงคาลกสูตรบ้าง หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตและการดำรงชีพบ้าง จึงนำมาประพันธ์เป็นบทกลอนลำ และยังมีผู้ได้ที่บวชเรียนมาซึ่งมองเห็นในหลักของสิงคาลกสูตรมีสาระที่ผู้คนทั่วไปควรที่จะรับรู้ จึงได้ประพันธ์ขึ้นมาอีกด้วย 2. ตัวบทสิงคาลกสูตรที่อธิบายถึงวิธีการปฏิบัติในการดำเนินชีวิต จะมีความแตกต่างกับกลอนลำของหมอลำกลอนอีสานเหล่านี้อยู่มาก แต่บทประพันธ์เหล่านั้นยังคงมีการสอดแทรกหลักปฏิบัติที่ปรากฏมีอยู่ในสิงคาลกสูตร อยู่ในทุกกลอน ซึ่งแต่ละกลอนอาจจะมีครบตามตัวบท หรือมีไม่ครบตามตัวบท แต่ผู้ประพันธ์มีความมุ่งหมายที่จะสื่อสารกับผู้ที่ได้รับฟังบทกลอนลำเหล่านั้นเพื่อจรรโลงจิตใจของผู้ฟังและหวังจักเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่นให้สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตามได้ 
Author
635220002-3 Mr. THIRABUT LUSIDA [Main Author]
Fine and Applied Arts Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0