2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ผลกระทบของการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องต่อสังคมแพลงก์ตอนสัตว์ในนาข้าว 
Date of Distribution 4 October 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 9 
     Organiser ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     Conference Place สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     Province/State เชียงใหม่ 
     Conference Date 2 October 2019 
     To 4 October 2019 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 134-135 
     Editors/edition/publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     Abstract การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานย่อมส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในนั้น คณะผู้วิจัยจึงเปรียบเทียบความหลากชนิดและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ในนาที่มีประวัติการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี จำนวน 2 แปลงนา ได้แก่ นาขนาดพื้นที่ 11 ไร่ ที่หยุดใช้สารกำจัดศัตรูพืชระยะเวลา 1 ปี (RF-APA) และนาขนาดพื้นที่ 13 ไร่ ที่ใช้สารกำจัดศัตรูพืชในปีที่เก็บตัวอย่าง (RF-PA) นาทั้ง 2 แปลงอยู่ในเขตอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยอยู่ห่างกันประมาณ 60 เมตร การเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์เชิงปริมาณจำนวน 10 จุด ในวันที่ 14 และ 29 ตุลาคม 2561 โดยกรองตัวอย่างน้ำปริมาตร 20 ลิตร ผ่านถุงกรองแพลงก์ตอนขนาดตา 20 ไมโครเมตร และรักษาสภาพตัวอย่างด้วยสารละลายลูกอล ความเข้มข้นร้อยละ 1 รวมทั้งสุ่มเก็บไข่พักของแพลงก์ตอนสัตว์ในดินจากนาข้าวทั้ง 2 แปลง มาเพาะฟักในห้องปฏิบัติการ โดยเก็บตัวอย่างทุก 6 วัน เป็นระยะเวลา 1 เดือน ผลการศึกษาพบว่า นาข้าว RF-APA และนาข้าว RF-PA มีความหลากชนิดของแพลงก์ตอนสัตว์เท่ากับ 113 และ 88 ชนิด ตามลำดับ โดยมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงของ abundance−based Jaccard (Jabd) เท่ากับ 0.438 นาข้าว RF-APA มีความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์เท่ากับ 24.42 ตัวต่อลิตร ซึ่งสูงกว่านาข้าว RF-PA ที่มีความหนาแน่น 16.62 ตัวต่อลิตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.527, p = 0.000) และทั้ง 2 แปลงนา พบจำนวนชนิดของแพลงก์ตอนสัตว์จากการเพาะฟักไข่พัก 16 ชนิดเท่ากัน แต่มีค่าดัชนีความคล้ายคลึงของ Jabd เพียง 0.243 นอกจากนั้นนาข้าว RF-APA มีปริมาณแอมโมเนีย 0.17±0.08 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่านาข้าว RF-PA ที่มีค่าดังกล่าว 0.04±0.03 มิลลิกรัมต่อลิตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.562, p = 0.005) จากการวิเคราะห์ Canonical Correspondence Analysis พบว่า ปริมาณแอมโมเนีย (r = 0.995) และค่าการนำไฟฟ้า (r = 0.913) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับโรติเฟอร์ 7 ชนิด ได้แก่ Lecane bulla, L. hamata, L. papuana, L. quadridentata, Lophocharis salpina, Testudinella patina และ Trichocerca tenuior ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแปลงนาที่ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อความหลากหลายและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ในนาข้าว งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำจืด กุ้ง ปู ไรน้ำ หอย ไส้เดือน ปลิงน้ำจืด และอื่นๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร การเกษตร การแพทย์และเวชสำอาง สิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (BDC-PG4-160020)” 
Author
597020053-0 Mr. NATTAPORN PLANGKLANG [Main Author]
Science Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum