Title of Article |
การปรับปรุงกระบวนการผลิตป้ายจราจร ของโรงงานผลิตป้ายจราจร บริษัท ABC จำกัด |
Date of Acceptance |
14 September 2022 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
13 |
Issue |
1 |
Month |
มกราคม - มีนาคม |
Year of Publication |
2022 |
Page |
|
Abstract |
ธุรกิจการผลิตป้ายจราจรเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตที่สร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนในประเทศ ในการระบุทิศทางและสัญลักษณ์ต่าง ๆ หรือเปรียบเสมือนเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้สำนักอำนวยความปลอดภัยได้นำวิธีการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Audit) มาใช้ตรวจสอบอัตราการเกิดอุบัติเหตุและอัตราความปลอดภัย พบว่าคะแนนเฉลี่ยรวมของความพึงพอใจด้านความปลอดภัยของงานอุปกรณ์จากแบบสอบถาม อันดับหนึ่งคือ งานป้ายจราจร (สำนักอำนวยความปลอดภัย, 2562). การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการเกิดของเสียในกระบวนการผลิตป้ายจราจรของโรงงานผลิตป้ายจราจรบริษัท ABC จำกัด ในจังหวัดหนองคาย และเพื่อกำหนดแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตป้ายจราจร ของโรงงานผลิตป้ายจราจร บริษัท ABC จำกัด ให้เกิดความสูญเปล่าน้อยที่สุด การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้ การเข้าไปสังเกต (Observe) เครื่องมือใช้จับเวลา (Time record แบบบันทึกข้อมูลในการปฏิบัติงาน (Form) การสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครง (Structured Interview) โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตป้ายจราจรของ บริษัท ABC จำกัด 8 ท่าน ได้แก่ ผู้ประกอบการ 1 ท่าน ผู้ควบคุมกระบวนการผลิต 1 ท่าน และพนักงานในกระบวนการผลิต 6 ท่าน และในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง (7 QC Tools) โดยเลือกใช้ 2 อย่าง ได้แก่ กราฟ (Graph) และ แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) ในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ต่อมานำทฤษฎีลีน (LEAN) และโปรแกรม PERT (Program Evaluation and Review Technique) เข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สาเหตุของปัญหามาจากการกำหนดจำนวนของพนักงาน/แรงงานซึ่งไม่สอดคล้องกับระยะเวลาในกระบวนการผลิตที่กำหนดในแต่ละขั้นตอน รวมถึงสภาพอากาศในแต่ละวันที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงส่งผลทำให้มีของเสีย ซึ่งจากการปรับปรุงกระบวนการผลิต พบว่าของเสียที่เกิดขึ้นลดลงโดยคิดเป็น ร้อยละ 3.2 โดยเฉลี่ย และอยู่ในเกณฑ์ที่ผู้ประกอบการได้กำหนดไว้ |
Keyword |
กระบวนการผลิต, โลจิสติกส์, ลีน, การเขียนข่ายงาน |
Author |
|
Reviewing Status |
ไม่มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
true |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|