ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายกับดัชนีมวลกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
9 กันยายน 2565 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมการบริการวิชาการสู่สังคม ภายใต้ยุคดิจิทัลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs” |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
สถานที่จัดประชุม |
โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
8 กันยายน 2565 |
ถึง |
9 กันยายน 2565 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
1 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
277-291 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) 2) ศึกษาดัชนีมวลกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างสมรรถภาพทางกายและดัชนีมวลกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) กลุ่มประชากร คือ คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 283 คน เพศชายจำนวน 146 คน เพศหญิงจำนวน 137 คน โดยกลุ่มประชากรทุกคนจะได้รับการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 4 รายการ ประกอบด้วย นั่งงอตัว,
ลุก–นั่ง 60 วินาที, ดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที และยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายในภาพรวมดังนี้ การทดสอบนั่งงอตัว อยู่ในระดับต่ำมาก การทดสอบลุก–นั่ง 60 วินาที อยู่ในระดับปานกลาง การทดสอบดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที อยู่ในระดับต่ำ การทดสอบยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที อยู่ในระดับดีมาก 2) นักเรียนมีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์สมส่วน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายทั้ง 4 รายการ กับดัชนีมวลกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสรุป ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายและดัชนีมวลกายในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีความสัมพันธ์กันในเชิงลบและที่สำคัญยังได้พบว่าจำนวนของเด็กที่อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกินนั้นมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงและแนวโน้มของภาวะของเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์และอ้วนที่เพิ่มสูงขึ้น
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|