2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายกับดัชนีมวลกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) 
Date of Distribution 9 September 2022 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมการบริการวิชาการสู่สังคม ภายใต้ยุคดิจิทัลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs” 
     Organiser สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 8 September 2022 
     To 9 September 2022 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 277-291 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) 2) ศึกษาดัชนีมวลกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างสมรรถภาพทางกายและดัชนีมวลกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) กลุ่มประชากร คือ คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 283 คน เพศชายจำนวน 146 คน เพศหญิงจำนวน 137 คน โดยกลุ่มประชากรทุกคนจะได้รับการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 4 รายการ ประกอบด้วย นั่งงอตัว, ลุก–นั่ง 60 วินาที, ดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที และยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายในภาพรวมดังนี้ การทดสอบนั่งงอตัว อยู่ในระดับต่ำมาก การทดสอบลุก–นั่ง 60 วินาที อยู่ในระดับปานกลาง การทดสอบดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที อยู่ในระดับต่ำ การทดสอบยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที อยู่ในระดับดีมาก 2) นักเรียนมีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์สมส่วน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายทั้ง 4 รายการ กับดัชนีมวลกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสรุป ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายและดัชนีมวลกายในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีความสัมพันธ์กันในเชิงลบและที่สำคัญยังได้พบว่าจำนวนของเด็กที่อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกินนั้นมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงและแนวโน้มของภาวะของเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์และอ้วนที่เพิ่มสูงขึ้น  
Author
635050023-1 Mr. SIWAJI KITISRIWORAPHAN [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0