2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการไถ่ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชน ในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 กันยายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า 16 
     บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเรื่อง มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการไถ่ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 ศึกษากรณีกระบวนการไถ่ทรัพย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการเกี่ยวกับการขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 และวิเคราะห์ปัญหาการใช้และการตีความพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 และศึกษาแนวทางการแก้ไขจากกฎหมาย ระเบียบ ประกอบกับแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกฎหมายขายฝากของประเทศไทยและกฎหมายขายฝากของต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข ทบทวน ปรับปรุง พัฒนาพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้ชัดเจน ครอบคลุม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ผลการศึกษาพบว่า การทำนิติกรรมขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 มีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการไถ่ทรัพย์ที่เอื้อให้ผู้ซื้อฝากมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจเหนือกว่าเอารัดเอาเปรียบผู้ซื้อฝาก โดยเมื่อครบกำหนดไถ่เวลาไถ่ตามสัญญาผู้ขายฝากไม่สามารถนำเงินมาไถ่ได้จะทำให้ผู้รับซื้อฝากเรียกรับผลประโยชน์ต่าง ๆ แลกกับการยอมขยายระยะเวลาการไถ่จากขายฝากออกไปได้ รวมไปถึงการกำหนดสินไถ่นอกเหนือสัญญาที่สูงกว่ากฎหมายกำหนด และการขยายขายฝากนั้นยังต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากเกิดเหตุสุดวิสัยจะไม่สามารถมาทำการขยายระยะเวลาการไถ่จากขายฝากหรือทำการไถ่จากขายฝากได้ นอกจากนี้การกำหนดสถานที่วางทรัพย์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 ยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในกรณีที่ผู้รับซื้อฝากไม่ยอมมาดำเนินการจดทะเบียนไถ่ถอนและไม่ยอมนำเอกสารสิทธิที่ผู้รับซื้อฝากยึดถือไว้มาคืนจึงทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ขายฝากซึ่งไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 การวิจัยนี้จึงเห็นควรเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายขายฝากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 โดยให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมขอบเขตการบังคับใช้บทบัญญัติพระราชบัญญัตินี้ในประเด็นเรื่องแบบของสัญญาในการขยายระยะเวลาการไถ่ทรัพย์สิน การขยายกำหนดเวลาไถ่จากการขายฝาก และการใช้สิทธิไถ่โดยการวางทรัพย์ และเห็นควรต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องรองรับกับหลักปฏิบัติที่สามารถปฏิบัติตามได้จริงในประเด็นกรณีผู้ขายฝากวางทรัพย์แล้วผู้รับซื้อฝากไม่ส่งหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินคืนให้แก่ผู้ขายฝาก เพื่อให้กฎหมายมีความชัดเจน และมีความรัดกุมไม่เปิดช่องโหว่ให้เกิดปัญหาในการใช้ดุลพินิจได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ที่จะสามารถใช้กฎหมายขายฝากตามพระราชบัญญัตินี้ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ 
     คำสำคัญ การขายฝาก/ การไถ่ / สัญญาขายฝากที่ดิน 
ผู้เขียน
635420016-8 นาย ภานุพงศ์ สายเจริญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสหวิทยาการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0