2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การใส่วัสดุอินทรีย์ต่างชนิดกันต่อรูปแบบการสลายตัว กิจกรรมจุลินทรีย์ และสมบัติดินบางประการในพื้นที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือที่มีเนื้อดินหยาบ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 21 กันยายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 51 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - กุมภาพันธ์
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อัตราการสลายตัววัสดุอินทรีย์ การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมจุลินทรีย์ สมบัติดินและธาตุอาหารในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเกลือที่มีเนื้อหยาบ/หรือที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ โดยใช้วัสดุอินทรีย์ประกอบด้วยซากถั่วลิสง ใบหญ้าแฝก ฟางข้าว และแกลบซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีต่างกัน ซึ่งซากถั่วลิสงเป็นวัสดุอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง ในขณะแกลบมีปริมาณลิกนินและเซลลูโลสสูง ผลการศึกษาพบว่า อัตราการสลายตัวเกิดขึ้นเร็วในช่วงแรก (k1) โดยเฉพาะช่วง 2 สัปดาห์แรก ซึ่งมีอัตราสลายตัวสูงสุดในดินที่ใส่หญ้าแฝก และเกิดการสลายตัวล่าช้าในช่วงหลัง (k2) อัตราการสลายตัวมีสหสัมพันธ์ทางลบกับคาร์บอนในวัสดุอินทรีย์ (r= -0.906**) และสหสัมพันธ์ทางบวกกับอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน (r= 0.729*) และยังพบว่า กิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินจากการปลดปล่อย CO2 ที่เกิดขึ้นทันทีโดยเฉพาะดินที่ใส่ซากถั่วลิสง และแกลบซึ่งปริมาณ CO2 ที่ปลดปล่อยขึ้นอยู่กับปริมาณไนโตรเจน (r= 0.723**) และลิกนิน (r= 0.771**) ในวัสดุอินทรีย์ สำหรับปริมาณมวลชีวภาพจุลินทรีย์คาร์บอน (MBC) และไนโตรเจน (MBN) พบในช่วงสัปดาห์ที่ 8 มีค่าสูงสุดในดินที่ใส่ฟางข้าวและซากถั่วลิสงสำหรับ MBC และ MBN ในขณะที่ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ (qCO2) เพิ่มขึ้นในดินที่ใส่ซากถั่วลิสง และลดลงในดินที่ใส่ฟางข้าว นอกจากนี้ การใส่วัสดุอินทรีย์ช่วยทำให้ความหนาแน่นรวมของดินลดลง ดินอุ้มน้ำได้มากขึ้น ค่าการนำไฟฟ้าลดลง ค่าความจุการแลกเปลี่ยนแคทไอออนของดินเพิ่ม ดินมีความเข้มข้นของธาตุอาหารเพิ่มขึ้นประกอบด้วยไนโตรเจนทั้งหมดในดิน ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ซึ่งส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นดิน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การจัดการดิน น้ำ และปุ๋ยในการปลูกข้าวในดินเนื้อหยาบ 
     คำสำคัญ ดินที่มีผลกระทบจากเกลือที่มีเนื้อหยาบ; วัสดุอินทรีย์; อัตราการสลายตัว; กิจกรรมจุลินทรีย์; มวลชีวภาพจุลินทรีย์  
ผู้เขียน
587030003-8 น.ส. ศกุนตลา สุภาสัย [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0