2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ และการอบรมทางการพยาบาล กับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์เขตอีสานใต้ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 ตุลาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 37 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล : การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในหอผู้ป่วยมีความซับซ้อน พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการประเมินอาการ อาการแสดง ที่เปลี่ยนแปลง ผิดปกติ และตัดสินใจให้การช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ป่วย แนะนำให้ข้อมูลแก่ครอบครัวหรือผู้ดูแล หากพยาบาลมีประสบการณ์ในการทำงานไม่มาก ได้รับการอบรมทางการพยาบาลเป็นส่วนน้อย อาจจะทำให้มีการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการดูแลที่ไม่เหมาะสม วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ การอบรมทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ กับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยพยาบาลวิชาชีพ วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยในที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ในโรงพยาบาลศูนย์เขตอีสานใต้ จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการอบรมทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และแบบสอบถามการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษา : การรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้านความรู้อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 64.6, SD = 10.2) ด้านความมั่นใจอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 18.7, SD = 5.6) และด้านความเชื่ออยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 17.0, SD = 0.9) ประสบการณ์ทำงานในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และความถี่ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะปานกลางถึงรุนแรงมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้านความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.294, 0.212, p-value < 0.01) การอบรมการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยเฉพาะ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้านความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.389, p-value < 0.01) ประสบการณ์ทำงานในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และการอบรมการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยเฉพาะ ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้านความมั่นใจและด้านความเชื่อ สรุป : การอบรมการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะโดยเฉพาะสัมพันธ์กับระดับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ด้านความรู้ สามารถนำไปส่งเสริมการอบรมเฉพาะทางแก่พยาบาลวิชาชีพได้  
     คำสำคัญ การรับรู้การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ ประสบการณ์ในการทำงาน การอบรมทางการพยาบาล 
ผู้เขียน
635060081-1 นาย นาคินทร์ สดไสย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum