2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของวิธีการใช้สารยึดติดยูนิเวอร์ซัลต่อค่ากำลังยึดเฉือนระดับจุลภาคของวัสดุบูรณะไบโอแอคทีฟต่อเนื้อฟัน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 พฤษภาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ บัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 21 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดปทุมธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 30 พฤษภาคม 2565 
     ถึง 30 พฤษภาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 21 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 284-292 
     Editors/edition/publisher พิชญา จารุรัชตพันธ์, อาภาภรณ์ ภาษาสุข 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกำลังยึดเฉือนระดับจุลภาคในเนื้อฟัน ที่บูรณะด้วยวัสดุบูรณะไบโอแอคทีฟ 2 ชนิด ได้แก่ แอคทิวาไบโอแอคทีฟเรสตอเรทีฟ และเซนชั่นเอ็น ร่วมกับสารยึดติดสกอซบอนด์ยูนิเวอร์ซัล 2 วิธี คือ วิธีเซล์ฟเอช และเอชแอนด์รินซ์ เตรียมชิ้นตัวอย่างโดยใช้ฟันกรามแท้ซี่ที่สาม ตัดที่ระยะต่ำกว่าร่องฟัน 1 มม. ขัดด้วยกระดาษทรายน้ำ แล้วแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามชนิดของวัสดุบูรณะ และวิธีการทาสารยึดติด ได้แก่ 1).เซนชั่นเอ็น ใช้สารยึดติดวิธีเซลฟ์เอช 2).เซนชั่นเอ็น ใช้สารยึดติดวิธีเอชแอนด์รินซ์ 3).แอคทิวาไบโอแอคทีฟเรสตอเรทีฟ ใช้สารยึดติดวิธีเซลฟ์เอช 4).แอคทิวาไบโอแอคทีฟเรสตอเรทีฟ ใช้สารยึดติดวิธีเอชแอนด์รินซ์ ทาสารยึดติด และบูรณะด้วยวิธีและวัสดุตามกลุ่มที่กำหนด โดยใส่วัสดุในท่อพลาสติกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 มม. สูง 1.5 มม. 4 ท่อต่อฟัน 1 ซี่ เก็บชิ้นงานที่ผ่านการคัดเลือกไว้ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง แล้วนำไปทดสอบกำลังยึดเฉือนระดับจุลภาค ด้วยเครื่องทดสอบสากลความเร็วหัวทดสอบ 1 มม./นาที เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกำลังยึดเฉือนระดับจุลภาคทุกกลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยกำลังยึดเฉือนระดับจุลภาคของเนื้อฟันที่บูรณะด้วยเซนชั่นเอ็น ใช้สารยึดติดวิธีเซลฟ์เอชมีค่ามากที่สุด โดยมีความแตกต่างกับ 3 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)  
ผู้เขียน
635130010-5 น.ส. พิชญา จารุรัชตพันธ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 4