2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปริมาณฟีนอลิกรวม ฟลาโวนอยด์รวม วิตามินซี และฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระของส้มโอสายพันธุ์ขาวหอม ทองดี และมณีอีสาน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 ตุลาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วาสารวิจัยสาธารสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ISSN : 2651-1770 
     ปีที่ 15 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ส้มโอ (Citrus grandis (L.) Osbeck) เป็นผลไม้เศรษฐกิจของไทยที่นิยมรับประทาน ซึ่งอุดมไปด้วยสารพฤกษเคมี (phytochemical) มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและมีประโยชน์ในการป้องกันโรคโดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases; NCDs) การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาปริมาณฟีนอลิกรวมด้วยวิธี folin-ciocalteu spectrometric method โดยใช้กรดแกลลิก (gallic acid) เป็นสารมาตรฐาน ฟลาโวนอยด์รวมด้วยวิธี aluminium chloride colorimetry method โดยใช้เควอซิทิน (quercetin) เป็นสารมาตรฐาน วิตามินซีโดยใช้วิธีไทเทรตกับสารละลายไอโอดีน และฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และ วิธี Ferric reducing antioxidant power (FRAP) จากส่วนต่าง ๆ ของผลส้มโอ 3 สายพันธุ์ คือ ขาวหอม ทองดี และมณีอีสาน จากการศึกษาพบว่าปริมาณฟีนอลิกรวมมีมากที่สุดในส่วนของเปลือกกลางของสายพันธุ์ขาวหอม (98.11 ± 8.70 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อน้ำหนักแห้ง 1 กรัม) ปริมาณฟลาโวนอยด์รวมมีมากที่สุดในส่วนเนื้อของสายพันธุ์ขาวหอม (54.60 ± 1.05 มิลลิกรัมสมมูลเควอซิทินต่อน้ำหนักแห้ง 1 กรัม) ปริมาณวิตามินซีมีมากที่สุดในส่วนเนื้อของสายพันธุ์ทองดี (57.64 ± 2.17 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้ง 1 กรัม) สำหรับฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระทดสอบด้วยวิธี DPPH และ FRAP พบว่าส่วนเนื้อของสายพันธุ์ขาวหอม และทองดี มีฤทธิ์ดีที่สุด จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าส้มโอสายพันธุ์ขาวหอมมีปริมาณสารสำคัญและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าสายพันธุ์อื่น โดยเฉพาะในส่วนของเนื้อ และเปลือกนอก จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าส่วนต่าง ๆ ของผลส้มโออุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ ซึ่งอาจจะนำไปพัฒนาเป็นอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่อไปในอนาคต 
     คำสำคัญ ส้มโอ, สารพฤกษเคมี, ฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ 
ผู้เขียน
635110088-0 นาย กิตติศักดิ์ สุขเพสน์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum