ชื่อบทความ |
การโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่มีการใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
11 ตุลาคม 2565 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สำนักงานวารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
8 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม–พฤศจิกายน 2566 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างการโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่มีการใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดซึ่งเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการโต้แย้งในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ส่งผลในทางบวกต่อการพัฒนาความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนอำนวยความสะดวกในการสร้างความรู้และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 16 คน จากโรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจการโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ โพโตคอล วีดิทัศน์จากการสังเกตชั้นเรียน และใบกิจกรรมของวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดของ Inprasitha (2014). และกรอบแนวคิด การโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของ Knipping (2008) ผลการศึกษาการโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่มีการใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด หน่วยการเรียนรู้เรื่อง วงกลม จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์การโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของ Knipping (2008) ตามการศึกษาชั้นเรียน 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.การร่วมมือกันออกแบบบทเรียนวิจัย (Plan) การร่วมกันวางแผนเป็นการร่วมมือกันระหว่างนักวิจัย ผู้ประสานงานโรงเรียน ผู้ช่วยวิจัย และครูผู้ที่ทำการสอน มุ่งเน้นไปที่การเสนอข้อโต้แย้งของนักเรียนหรือการคาดเดา จะพบว่ามีแนวคิดการโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ไม่ได้คาดการณ์ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาการของการโต้แย้ง
2. การร่วมมือกันสังเกตบทเรียนวิจัย (Do) ในขั้นตอนนี้ครูจะนำแผนการสอนไปใช้จริงในชั้นเรียนโดยวิธีการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาด้วยตนเอง พบประเด็นการโต้แย้งของนักเรียนที่แตกต่างกันทั้งประเด็นและเหตุผลที่หลากหลาย แสดงให้เห็นว่าการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อให้เกิดประเด็นการโต้แย้งของนักเรียนที่หลากหลาย
3. การร่วมมือกันอภิปรายและสะท้อนผลบทเรียนวิจัย (See) จะสะท้อนเกี่ยวกับผลที่ได้จากการ สังเกตการณ์สอนเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแผนการสอน พบว่าทั้ง 19 ประเด็นการโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์มีโครงสร้างที่แตกต่าง
การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเป็นนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชั้นเรียนในระยะยาว เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้ได้ผลมากที่สุด ครูสามารถนำข้อมูลการโต้แย้งของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์มไปเป็นแนวทางในการพัฒนา ออกแบบกลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกและสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน
|
คำสำคัญ |
การโต้แย้งของนักเรียน,ชั้นเรียนคณิตศาสตร์,การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|