2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรม PESAI (Privacy Computing Ecosystem for AI) และการจัดการโดยสหวิชาชีพ ต่อการชะลอโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 ตุลาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเภสัชกรรมไทย) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 15 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า 1-15 
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม PESAI (Privacy Computing Ecosystem for AI) และการจัดการของสหวิชาชีพต่อการชะลอโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง วิธีการ: การศึกษาเป็นวิจัยแบบกึ่งทดลองในตัวอย่างกลุ่มเดียวที่ทดสอบก่อนและหลังให้การแทรกแซง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 ถึง 3 ซึ่งที่มารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 162 คน โปรแกรม PESAI คือ โปรแกรมแจ้งเตือนค่าที่ผิดปกติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคไตเรื้อรัง การศึกษาเก็บข้อมูลก่อนการติดตั้งโปรแกรม 6 เดือนจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และเวชระเบียนของโรงพยาบาล ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ระดับความดันโลหิต ผลทางห้องปฏิบัติการ และการใช้ยา การเก็บข้อมูลหลังติดตั้งโปรแกรมทำในวันที่กลุ่มตัวอย่างมารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวานและคลินิกโรคความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลา 6 เดือนโดยนัดกลุ่มตัวอย่างมาเจาะเลือด เพื่อหาค่าฮีโมโกลบิน ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม แอลดีแอลคอเลสเตอรอล อัตราการกรองของไต โพแทสเซียม ไบคาร์บอเนต และตรวจปัสสาวะ เพื่อหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ จำนวน 2 ครั้งห่างกัน 3 เดือน หากมีค่าทางห้องปฏิบัติการหรือการใช้ยาที่ผิดปกติจะมีการแจ้งเตือนจากโปรแกรม PESAI และมีการจัดการโดยสหวิชาชีพ ผลการวิจัย: หลังใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีระดับความดันโลหิต ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม และแอลดีแอลคอเลสเตอรอล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในช่วงหลังใช้โปรแกรม จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยา NSAIDs และจำนวนผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการปรับยา metformin ลดลงจากก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนค่าอัตราการกรองของไต ฮีโมโกลบิน และจำนวนผู้ป่วยที่มีปริมาณโปรตีนในปัสสาวะเป็นลบ เพิ่มขึ้นจากก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P<0.05) ส่วนค่าไบคาร์บอเนตและและโพแทสเซียมก่อนและหลังใช้โปรแกรมไม่แตกต่างกัน สรุป: การใช้โปรแกรม PESAI ร่วมกับการจัดการโดยสหวิชาชีพอาจช่วยชะลอโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  
     คำสำคัญ โปรแกรม PESAI (Privacy Computing Ecosystem for AI) การจัดการโดยสหวิชาชีพ โรคไตเรื้อรัง เบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง 
ผู้เขียน
625150012-8 น.ส. ธิดารัตน์ มงคลสุคนธรัก [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0