2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ผลของความเครียดเค็ม ความเครียดแล้ง และไคโตซานต่อการเจริญของแคลลัสข้าวหอมมะลิแดง 
Date of Distribution 31 July 2021 
Conference
     Title of the Conference งานประชุมระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม(มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 2 
     Organiser คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     Conference Place ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     Province/State เชียงใหม่ 
     Conference Date 18 March 2022 
     To 18 March 2022 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 658-666 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract ข้าวเป็นพืชเศรษกิจสำคัญของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันปริมาณการส่งออกข้าวลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลกระทบให้การเจริญและผลผลิตข้าวลดลง งานวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ ความเครียดเค็ม ความเครียดแล้ง และไคโตซานต่อการเจริญของแคลลัส โดยทำการฟอกฆ่าเชื้อเมล็ดด้วยสารละลาย โซเดียมไฮเปอร์คลอไรด์ (คลอรอกซ์) 15 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 20 นาที และชักนำให้เกิดแคลลัสในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร Murashige and Skoog (MS) ร่วมกับ 2,4-Dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) 2 mg/l และ6-benzylamino- purine (BAP) 0.1 mg/l เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการภายใต้ความเข้มแสง 1,000 Lux เป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นนำแคลลัสที่ได้มาตัดให้ได้ขนาด 0.4 x 0.4 เซนติเมตร และย้ายลงอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตรเดิมร่วมกับโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ความเข้มข้น 0, 100, 150 และ 200 มิลลิโมลาร์ โพลิเอทิลีนไกลคอล (PEG (6000)) ความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 1.5 และ 2 % (v/v) และไคโตซานที่ระดับ ความเข้มข้น 0, 25, 50 และ 100 ppm เพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่า เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต เปอร์เซ็นต์การตอบสนอง น้ำหนักสด น้ำหนักแห้งลดลง เมื่อความเข้มข้นของ NaCl และ PEG เพิ่มขึ้น ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เติมไคโตซาน 50 ppm พบว่าแคลลัสมีน้ำหนักสด น้ำหนักแห้งเฉลี่ยสูงที่สุด เมื่อความเข้มข้นของไคโตซานเพิ่มขึ้นจะมีจุดสีเขียว (Green spot) บนแคลลัสเพิ่มขึ้น ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวให้มีความทนทานต่อความเครียดจากปัจจัยทางกายภาพต่างๆ ได้  
Author
625020001-8 Miss KONGTONG PLAIKHUNTHOD [Main Author]
Science Master's Degree

Peer Review Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding true 
     Award Title รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชมเชย ประเภทการนำเสนอปากเปล่า (Oral Presentation) กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 
     Type of award รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     Organiser คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     Date of awarding 18 กุมภาพันธ์ 2564 
Attach file
Citation 0