2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการออกกำลังกายด้วยสายสร้างชีวิตที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3: การศึกษานำร่อง  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 กรกฎาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ SEAT2 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     สถานที่จัดประชุม Aplication Zoom Meeting 
     จังหวัด/รัฐ มหาสารคาม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 27 กรกฎาคม 2565 
     ถึง 27 กรกฎาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 74 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทนำ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 มีสาเหตุหนึ่งมาจากไตเสื่อมตามอายุ พฤติกรรม และขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกายเกิดการสะสมของมวลไขมันและสมรรถภาพร่างกายที่ลดลง การศึกษาก่อนหน้าพบว่าเมื่อเปรียบเทียบผลต่อการทำงานของหัวใจและกำลังกล้ามเนื้อต้นขากลุ่มการออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์สายสร้างชีวิตเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มกายบริหารในผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้อง ผู้วิจัยจึงนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษานี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายด้วยสายสร้างชีวิตกับกายบริหารเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ต่อสมรรถภาพทางกายและการทำงานระบบหายใจและไหลเวียนเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เครื่องมือและวิธีการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ (RCT) กลุ่มตัวอย่าง 8 คน โดยผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 3 มีค่า eGFR 30-59 มล./นาที/1.73 ม2 มีอายุ 40-65 ปี ถูกแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยสายสร้างชีวิตและกลุ่มกายบริหาร ออกกำลังกายเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทดสอบผลข้อมูลโดยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test และ Mann-Whitney U Test ผลการวิจัย กลุ่มออกกำลังกายด้วยสายสร้างชีวิตมีอายุเฉลี่ย 58.75 ปี (eGFR 52.4 มล./นาที/1.73 ม2) และกลุ่มกายบริหารมีอายุเฉลี่ย 61.75 ปี (eGFR 54.05 มล./นาที/1.73 ม2) หลังการออกกำลังกาย 6 สัปดาห์พบว่าความอ่อนตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยสายสร้างชีวิตเมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มกับกลุ่มกายบริหาร (p<0.05) สรุปผล การออกกำลังกายด้วยสายสร้างชีวิตเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มสรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวในกลุ่มเมื่อเปรียบเทียบกับการกายบริหารในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3  
ผู้เขียน
625100013-6 นาง คณรัตน์ เดโฟเซซ์ [ผู้เขียนหลัก]
บัณฑิตวิทยาลัย ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0