2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ตำนานพระยานรินทร์สงครามปู่จอมปากช่องภูเวียง สู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ซ้อนทับเพื่อสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 19 พฤศจิกายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม IC-HUSO Conference 2021 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 18 พฤศจิกายน 2564 
     ถึง 19 พฤศจิกายน 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2564 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ บทคัดย่อ (ออนไลน์) 
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาตำนาน เรื่องเล่ามุขปาฐะ เรื่องพระยานรินทร์สงครามหรือปู่จอมปากช่อง ภูเวียง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ซ้อนทับเพื่อสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรม ของชุมชนบนพื้นที่จุดยุทธศาสตร์ของอำเภอภูเวียงและอำเภอเวียงเก่า บริเวณพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ตั้งศาลวีรบุรุษที่มีความซื่อสัตย์มีวาจาที่เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และเป็นผู้ทรงธรรมต่อการปกครองบ้านเมือง จนได้รับยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของชุมชน ภายหลังจากการสิ้นชีวิตของพระยานรินทร์สงคราม ชุมชนได้มีการจัดตั้งศาลโดยใช้ชื่อเรียกว่าปู่จอมปากช่องภูเวียง อันเป็นการยกย่องให้เป็นจอมคนผู้กล้าหาญ ของอำเภอภูเวียงและอำเภอเวียงเก่าและกำหนดให้มีพิธีกรรมในการสรงน้ำเปลี่ยนเครื่องทรงในบุญสงกรานต์ของทุกปี จากการศึกษาพบว่า พื้นที่ตั้งของศาลพระยานรินทร์หรือปู่จอมปากช่องภูเวียงนั้น เป็นจุดยุทธศาสตร์ ที่นำเสนอลักษณะทางกายภาพที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ชุมชนจึงใช้พื้นที่นี้ในการสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรมจำแนกออกเป็น 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1. การใช้ตำนานและพิธีกรรมสื่อสารความหมายด้านพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กับชุมชน 2. การใช้ตำนานและพิธีกรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3. การใช้ตำนานและพิธีกรรมในการนำเสนออัตลักษณ์ชุมชน 4. การใช้ตำนานเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จนทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ผ่านทุนทางวัฒนธรรม กล่าวได้ว่าตำนานและพิธีกรรมในท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารความหมาย ทางวัฒนธรรมและให้ความหมายของพื้นที่ในมิติต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง  
ผู้เขียน
625080004-6 นาย อัษฎาวุฒิ ศรีทน [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0