2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ คุณสมบัติของรอยผุบนเนื้อฟันมนุษย์จากแบบจําลองด้วยเชื้อก่อโรคในห้องปฏิบัติการ Characteristics of an in Vitro Microbial Model to Create Caries-Like Lesions on Human Dentin 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 4 กรกฎาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 22 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 4 กรกฎาคม 2565 
     ถึง 4 กรกฎาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2565 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1418-1425 
     Editors/edition/publisher อรรถพล ควรเลี้ยง และ สุกัญญา บูรณเดชาชัย 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่ากําลังแรงยึดดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดยูนิเวอร์แซลระบบเอทช์แอนด์รินซ์ บนเนื้อฟันผุจากแบบจําลองด้วยเชื้อก่อโรค โดยนําชิ้นฟันมนุษย์ที่ไม่มีรอยผุจํานวน 10 ชิ้น มาเลี้ยงด้วยเชื้อก่อโรคฟันผุ 2 สายพันธุ์ คือ สเตร็ปโตค็อคคัส มิวแทนส์ และแลคโตบาซิลลัส อะซิโดฟิลลัส ในอาหารชนิดเหลว de Man Rogosa and Sharpe (MRS) ร่วมกับซูโครส ร้อยละ 5 บ่มด้วยอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส คาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 5 เป็น ระยะเวลานาน 3 วัน โดยมีกลุ่มเนื้อฟันปกติเป็นกลุ่มควบคุม จํานวน 5 ซี่ เนื้อฟันผุที่ได้จะมีลักษณะเป็นรอยหยุ่น สามารถใช้เครื่องมือคมตักออกได้ด้วยแรงปานกลาง จากนั้นนําไปทดสอบเพื่อศึกษาองค์ประกอบแร่ธาตุแคลเซียมและ ฟอสเฟตและวิเคราะห์หาโครงสร้างและองค์ประกอบของโมเลกุลด้วยเทคนิค FT-IR Spectroscopy พบว่า เนื้อฟันผุมี อัตราส่วนระหว่างแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสน้อยกว่ากลุ่มเนื้อฟันปกติ นอกจากนี้ผลที่ได้จากเทคนิค FT-IR Spectroscopy ยังแสดงว่ากลุ่มเนื้อฟันผุมีการละลายตัวของคาร์บอเนตและเกิดการเผยผึ่งของเส้นใยคอลลาเจนที่ มากกว่ากลุ่มเนื้อฟันปกติ ดังนั้นแบบจําลองด้วยเชื้อก่อโรคนี้สามารถสร้างเนื้อฟันผุบนฟันมนุษย์ได้ในห้องปฏิบัติการ จึงเหมาะสมที่จะไปใช้ในการทําวิจัยที่เกี่ยวข้องกับฟันผุได้ต่อไป 
ผู้เขียน
635130012-1 น.ส. อัจฉรียา ปิยะสันติ [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 5