ชื่อบทความ |
การใช้การประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างง่ายในการสะท้อนองค์ประกอบร่างกายผู้สูงอายุ (The use of simple muscle strength tests to reflect body compositions in elderly) |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
19 เมษายน 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
Naresuan Phayao Journal |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยพะเยา |
ISBN/ISSN |
1906-2141 |
ปีที่ |
14 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม - เมษายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
64-75 |
บทคัดย่อ |
การวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ของผลการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 3 วิธี (ประกอบด้วย การประเมินแรงบีบมือ การลุก-นั่ง 5 ครั้ง และแรงกดจากแขนขณะยกตัวในท่านั่ง) กับองค์ประกอบร่างกายด้านต่างๆ (ประกอบด้วย มวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก และไขมันสะสมทั่วร่างกาย) ในผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 30 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับการประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั้ง 3 วิธีตามลำดับโดยการสุ่ม ตามด้วยการนัดไปประเมินองค์ประกอบของร่างกายที่โรงพยาบาลภายใน 7 วัน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลการประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละวิธีกับองค์ประกอบของร่างกายแต่ละอย่างโดยใช้สถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ตามการกระจายของผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่าแรงบีบมือมีความสัมพันธ์กับมวลกล้ามเนื้อและมวลกระดูก(r=0.585-0.699, p<0.001) ผลการทดสอบลุก-นั่ง 5 ครั้ง มีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันสะสมทั่วร่างกาย(ρ= 0.471, p= 0.009) ในขณะที่แรงกดจากแขนขณะยกตัวในท่านั่งมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบของร่างกายทั้ง 3 ด้าน (r=0.597-0.762, p<0.001) โดยองค์ประกอบของร่างกายทั้ง 3 อย่างนี้มีความสำคัญต่อการทำหน้าที่ด้านต่างๆ ของร่างกาย แต่การประเมินที่ต้องอาศัยเครื่องมือที่ซับซ้อนและมีราคาแพงทำให้ขาดการประเมินและติดตามการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ผลการศึกษานี้แนะนำให้ใช้การประเมินแรงกดจากแขนขณะยกตัวในท่านั่งในการประเมินและติดตามการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของร่างกายผู้สูงอายุอย่างง่าย |
คำสำคัญ |
มวลกล้ามเนื้อ, มวลกระดูก, การทดสอบยกตัว, แรงบีบมือ, ผู้สูงอาย |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|